สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 70 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 การติดต่อ (contact) อคติจะลดลงก็ต่อเมื่อมีการติดต่อกันในสภาพเฉพาะ การติดต่อจะลดอคติได้เมื่อผู้ที่ติดต่อกัน มีสถานะที่เสมอภาค เมื่อการติดต่อเป็นเชิงบวก และเมื่อมีการรับรู้ว่าคนที่ตนติดต่อด้วยเป็นตัวแทนของกลุ่ม จริง ๆ มิใช่เป็นกรณีพิเศษ เช่น ฉลาดกว่ากลุ่ม ดีกว่ากลุ่ม ในการศึกษาแบบอภิวิเคราะห์ (meta-analysis) พบว่าภายใต้สภาพดังกล่าว การติดต่อระหว่างกลุ่มมีผลลดอคติต่อคนกลุ่มอื่นพอสมควร (Pettigrew & Tropp, 2000) บางครั้งแม้การติดต่อผ่านคนอื่นภายใต้สภาพดังกล่าวก็ได้ผล เช่น มีเพื่อนสนิทที่ติดต่อ กับกลุ่มอื่นในสภาพดังกล่าว (Wright, Aron, McLaughlin-Volpe, & Ropp, 1997) แม้การแสดงออก ภายนอกโดยตรงจะลดลงได้ด้วยการศึกษาและเทคนิคเปลี่ยนเจตคติ แต่การแสดงออกแบบอ้อม ๆ หรือ แยบยล เช่น พฤติกรรมหลีกเลี่ยงและการคุกคามอ่อน ๆ จะลดได้ด้วยการติดต่อระหว่างกลุ่ม (Dovidio & Gaertner, 1999) เป้าหมายสูงสุด (superordinate goals) การมีเป้าหมายสูงสุดร่วมกันจะลดอคติได้และลดข้อขัดแย้ง นักวิจัยพบว่าเมื่อให้เด็ก ๆ เล่นเกม ร่วมมือกัน พฤติกรรมก้าวร้าวลดลงและความร่วมมือเพิ่มขึ้น แต่เวลาที่พวกเขาเล่นเกมที่แข่งกันจะแสดง ความก้าวร้าวมากขึ้น และพฤติกรรมร่วมมือก็ลดลง (Bay-Hintz, et al., 1994) เทคนิคอันหนึ่งที่สร้างเป้าหมายร่วมคือชั้นเรียนแบบจิกซอว์ (jigsaw classroom) ซึ่งห้องเรียน ดังกล่าวสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน วิธีดังกล่าวพัฒนาโดย เอลเลียต อารอนสัน (Elliot Aronson, 2000; Aronson, Blaney, Stephin, Sikes, & Snapp, 1978; Aronson & Patnoe, 1997) เหมือนจิกซอว์ ที่ทุกชิ้นจะมีส่วนช่วยเติมให้ภาพเต็ม การให้เด็กทุกคนมีส่วนแสดงความรู้ที่ตนรู้เพื่อให้การบ้านสมบูรณ์ ท� ำให้เด็ก ๆ ในห้องเรียนทุกคนมีส่วนช่วยกันท� ำให้การบ้านสมบูรณ์ ในการนี้ ทุกคนจะเรียนรู้ในส่วนของตน อย่างเต็มที่ นักเรียนที่ได้โจทย์เดียวกันจะช่วยกัน ต่างคนต่างไปค้นคว้าและมาพบกัน เพื่อเอาความรู้ของ ตนมารวมกันประกอบให้การบ้านสมบูรณ์ ทุกคนเอาความรู้ที่ตนรู้มาน� ำเสนอ ทุกคนต้องร่วมมือกันเป็น ทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วม การศึกษาหลายโครงการได้แสดงว่าวิธีนี้ได้ผล มีการใช้เทคนิคห้องเรียนแบบ จิกซอว์ได้ผลในแอฟริกาและออสเตรเลียด้วย (Alebiosu, 2001; Walker & Crogan, 1998) บางครั้งการ มีสัญลักษณ์ของเป้าหมายสูงสุดก็ใช้ได้ผลแล้ว การใช้ธงชาติจะมีผลต่อพวกรักชาติมาก ในสหรัฐอเมริกา ธงชาติ หมายถึง การต้องเคารพสิทธิผู้อื่นและให้ความส� ำคัญต่อผลงานและลักษณะนิสัย แทนที่จะตัดสินคน อื่นเพราะเขาเป็นสมาชิกของกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ ดังนั้น เพียงการชักธงก็เตือนพวกคนรักชาติให้คิดถึงอุดมการณ์ ของสหรัฐอเมริกาและลดอคติที่มีต่อคนกลุ่มอื่น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=