สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

69 นพมาศ อุ้งพระ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ การทดสอบตนเอง แรงจูงใจเอาชนะอคติของคุณเป็นแบบไหน (Baumeister & Bushman, 2008) แรงจูงใจภายในที่จะมีปฏิกิริยาที่ไร้อคติ ๑. ฉันพยายามแสดงความไม่มีอคติต่อคนผิวด� ำ เพราะมันมีความส� ำคัญต่อความเชื่อของฉัน ๒. ตามค่านิยมส่วนตนของฉัน การเหมารวมเกี่ยวกับคนด� ำใช้ได้ (มีคะแนนกลับกัน ติดลบ) ๓. ฉันรู้สึกจริง ๆ ว่าความเชื่อเรื่องไร้อคติต่อคนผิวด� ำเป็นเรื่องถูกต้อง ๔. ค่านิยมส่วนตัวของฉันท� ำให้ฉันเชื่อว่าการเหมารวมเกี่ยวกับคนผิวด� ำเป็นเรื่องผิด ๕. การเป็นคนไร้อคติต่อคนผิวด� ำมีความส� ำคัญต่ออัตมโนทัศน์ของฉัน แรงจูงใจภายนอกที่จะมีปฏิกิริยาไร้อคติ ๑. เนื่องจากทุกวันนี้มาตรฐาน PC (ความถูกต้องทางการเมือง หรือ politically correct) ท� ำให้ ฉันพยายามแสดงว่าฉันไม่มีอคติต่อคนผิวด� ำ ๒. ฉันพยายามซ่อนความคิดเชิงลบต่อคนผิวด� ำ เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาไม่ดีจากผู้อื่น ๓. ถ้าฉันแสดงอคติต่อคนผิวด� ำฉันกลัวว่าคนอื่นจะโกรธฉัน ๔. ฉันพยายามแสดงความไม่มีอคติต่อคนผิวด� ำเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่เห็นชอบของคนอื่น ๕. ฉันพยายามแสดงความไม่มีอคติต่อคนผิวด� ำเพราะความกดดันจากผู้อื่น การที่คนมีแรงจูงใจประเภทไหนมีผลต่อพฤติกรรม เพราะคนที่มีแรงจูงใจภายนอกที่จะแสดง ปฏิกิริยาไร้อคติจะแสดงอคติน้อยเมื่ออยู่ต่อหน้าคนอื่น แต่เวลาที่เขียนความคิดเห็นโดยไม่มีใครรู้พวก เขาจะแสดงอคติมากกว่า ส่วนคนที่มีแรงจูงใจภายในที่จะมีปฏิกิริยาไร้อคติจะแสดงความไม่มีอคติทั้ง ต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น ส่วนพวกที่ไม่มีแรงจูงใจประเภทใดประเภทหนึ่งจะมีอคติพอประมาณไม่ว่า จะอยู่สถานการณ์ไหน (ปัจจุบันมีคนอเมริกันน้อยมากที่แสดงอคติแบบรุนแรง) มีการพบว่าพวกที่มีแรงจูงใจภายนอกที่จะแสดงปฏิกิริยาไร้อคติจะโกรธมากกว่าถ้าถูกกดดัน ให้ท� ำในเรื่องที่ถูกต้องตามมาตรฐานทางการเมือง (PC) ก� ำหนด เวลาอยู่ลับหลังคนพวกนี้แสดงอคติ มากกว่าเวลาที่ไม่ถูกกดดัน คนขาวที่มีแรงจูงใจภายในที่จะแสดงปฏิกิริยาไร้อคติจะมีการซึมซับและปฏิบัติแนวการกระท� ำ อย่างไร้อคติ การมีใจไม่มีอคติท� ำให้คนพวกนี้เอาชนะอคติและปฏิกิริยาไม่พึงปรารถนาได้ง่ายขึ้น รวมทั้ง ไม่แสดงอาการมีอคติแบบไร้ส� ำนึกหรือไม่รู้ตัว (Amodio, Harmon-Jones, & Devine, 2003)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=