สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 68 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ปฏิกิริยาเมื่อถูกกล่าวหาว่ามีอคติ งานวิจัยได้แสดงว่าเวลาคนถูกกล่าวหาว่ามีอคติ พวกเขาจะพยายามพิสูจน์ตัวเองโดยการท� ำตรง กันข้ามกับที่ถูกกล่าวหา ในการศึกษาโครงการหนึ่ง (Dutton & Lake, 1973) ผู้เข้าร่วมวิจัยผิวขาวกลุ่ม หนึ่งซึ่งประเมินตนเองว่าไม่ค่อยมีอคติถูกแบ่งเป็นพวกถูกกล่าวหาและพวกไม่ถูกกล่าวหาว่ามีอคติต่อสีผิว หลังจากออกจากห้องทดลองผู้เข้าร่วมวิจัยเจอขอทานผิวสีและผิวขาว (ซึ่งเป็นหน้าม้า) มาขอเงิน ขอทาน ผิวด� ำได้เงินมากกว่าจากคนที่ถูกกล่าวหาว่ามีอคติต่อสีผิว คนที่ไม่ถูกกล่าวหาให้เงินน้อยกว่า ขอทาน ผิวขาวได้เงินเท่ากันจากทั้ง ๒ กลุ่ม ฉะนั้น คนผิวขาวที่ถูกกล่าวหาให้เงินคนผิวด� ำมากกว่าเพื่อพิสูจน์ว่า ตนไม่ได้มีอคติทางสีผิว แรงจูงใจที่จะเอาชนะอคติ มีเหตุผล ๒ ประการที่ท� ำให้คนอยากเอาชนะความรู้สึกมีอคติ เหตุผลประการแรกคือ ความ รู้สึกจริง ๆ ว่าการมีอคติเป็นเรื่องผิด เหตุผลประการที่ ๒ คือ ความรู้สึกว่าการแสดงอคติอาจท� ำให้สังคม ต่อต้าน แรงจูงใจทั้ง ๒ อย่างอาจจะมีส่วนจริงทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับว่าคนจะเน้นข้อไหน นักจิตวิทยาสังคมชื่อ แพลนต์และดีไวน์ (Plant & Devine, 1998) ได้สร้างแบบทดสอบที่ช่วยจัดประเภทของคนตามแรงจูงใจ ทั้ง ๒ อย่าง แบบทดสอบวัดแรงจูงใจภายในที่โต้ตอบแบบไร้อคติ (Internal Motivation to Respond Without Prejudice) ซึ่งเกี่ยวกับแรงจูงใจ และความเชื่อว่าการมีอคติเป็นเรื่องผิดศีลธรรม นอกจากนี้ แบบทดสอบยังวัดแรงจูงใจภายนอกที่จะโต้ตอบแบบไร้อคติ (External Motivation to Respond Without Prejudice) ซึ่งเกี่ยวกับความเชื่อที่ว่าเป็นการไม่ฉลาดที่จะแสดงอคติ ซึ่งสังคมบอกว่าเป็น พฤติกรรมไม่พึงปรารถนา มาตรวัดดังกล่าวสามารถถูกปรับใช้ในการศึกษา อคติที่มีต่อคนรักร่วมเพศ คนอ้วน ชาวอาหรับ และกลุ่มอื่น ๆ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=