สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

67 นพมาศ อุ้งพระ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ การจงใจเอาชนะอคติ การมีอคติดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่สังคมที่มีความเที่ยงธรรมจะพยายามห้ามคนไม่ให้ แสดงอคติ การที่สังคมห้ามและสร้างวัฒนธรรมที่เที่ยงธรรมจะท� ำให้มีสมาชิกส่วนหนึ่งตระหนักรู้ในความ ไม่ยุติธรรมของอคติ และพยายามหักห้ามใจและหักห้ามพฤติกรรมที่จะไปแสดงความรังเกียจคนที่ถูก รังเกียจ เวลาสังคมมีปทัสถานส่งเสริมความเสมอภาคและความสมานฉันท์ แม้คนจะมีอคติ เขาคนนั้น ก็สามารถตั้งใจลดความรู้สึกอคติ และไม่แสดงพฤติกรรมกีดกันคนสีผิวอื่น ศาสนาอื่น เผ่าพันธุ์อื่น เพศอื่น ฯลฯ โครงการศึกษาหลายโครงการได้แสดงให้เห็นว่าบุคคลอาจมีอคติโดยไม่รู้ตัว เพราะคน ๆ นั้นจะ บอกเสมอว่าเขาไม่มีอคติ แต่พอถูกทดสอบก็แสดงอาการอคติแฝงดังกล่าว คือ implicit prejudice ซึ่งคน มีอคติจะไม่ยอมรับว่าตนมีอคติ (Fazio, Jackson, Dunton, & Williams, 1995; Fazio & Olson, 2003; Greenwald, McGhee, & Schwartz, 1998; Payne, 2001) อคติแฝงมีผลต่อพฤติกรรม ตัวอย่างเช่น ในการศึกษารายการหนึ่งพบว่าอคติแฝงมีผลต่อพฤติกรรมกีดกันในที่ท� ำงานในเรื่องว่าจ้างมากกว่าเจตคติ ที่คนแสดงออก (Ziegert & Hanges, 2005) คนอาจบอกว่าตนไม่มีอคติ แต่พอเวลาตัดสินใจท� ำอะไร อคติ แฝงที่มีในใจก็แสดงอาการ หลายคนที่มีอคติแฝงอาจต้องต่อสู้กับตนเองอย่างมากเพื่อเอาชนะความรู้สึกดังกล่าว มีการพบว่า คนที่ต้องต่อสู้กับตัวเองเพื่อเอาชนะอคติอาจเกิดอาการเหนื่อยล้าเลยทีเดียว ริเชสันและเชลตัน (Richeson & Shelton, 2003; Richeson, Trawalter, & Shelton, 2005) ได้ศึกษาปฏิกิริยาของคนหลังคุยกับ คนสีผิวอื่น พบว่าการควบคุมตนเองและความระมัดระวังที่จะไม่แสดงอาการมีอคติท� ำให้คน ๆ นั้นท� ำการ ทดสอบเรื่องการควบคุมตนเองได้แย่ลง การพยายามควบคุมตนเองในขณะที่มีการปฏิสัมพันธ์กับคนสีผิว อื่นสร้างความเครียดและความเหนื่อยล้า พอไปท� ำการทดสอบความสามารถในการควบคุมตนเองก็ท� ำ แย่ลง คนในสังคมที่มีการห้ามแสดงอคติมาก แต่คนก็มีอคติ จะท� ำให้บุคคลดังกล่าวต้องใช้ความพยายาม ควบคุมตนเองไม่ให้พลั้งเผลอแสดงอคติอย่างมาก ในสังคมมีทั้งคนมีอคติและคนไม่มีอคติ แม้คนไม่มีอคติก็รู้เรื่องการเหมารวมเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อย พวกเขารู้หมดว่าคนในสังคมเหมารวมเกี่ยวกับคนที่ตนมีอคติด้วยอย่างไร แต่คนเหล่านี้ไม่แสดงอคติแม้จะ รู้ว่าสังคมคิดอย่างไร เวลาเจอสมาชิกของกลุ่มที่ถูกเหมารวม พวกเขาไม่รู้สึกมีอคติ แต่ในใจก็รู้อย่าง อัตโนมัติว่ามีการเหมารวมเกี่ยวกับคนพวกนี้อย่างไร บุคคลที่ไม่มีอคติใช้สติเตือนตนเองไม่ให้แสดงอคติแม้ จะรู้ว่าสังคมมีอคติอะไรบ้าง ดังนั้น เป็นเรื่องปรกติที่ทุกคนจะมีอคติในใจ เพราะเติบโตมาในสังคมที่มี การเหมารวมและมีอคติต่อชนกลุ่มอื่น ในขณะที่คนมีอคติบางส่วนจะแสดงอาการ คนที่คิดว่าตนไม่มีอคติ จะพยายามชนะใจตนเอง ไม่แสดงอคติและการกีดกัน แม้ความพยายามควบคุมตัวเองดังกล่าวจะท� ำให้ เหนื่อยก็ตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=