สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 66 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 จนบางแห่งต้องไปหาเจ้าสาวต่างถิ่น ในอินเดียมีผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ๖๐ กว่าล้านคน ในเกาหลีใต้ทางการ ต้องประกาศว่าถ้าไม่อยากต้องไปน� ำเข้าเจ้าสาวผิวด� ำก็อย่าแท้งลูกสาวอีกต่อไป ในสหรัฐอเมริกาไม่มีการ ท� ำแท้งหรือฆ่าเด็กหญิง แต่เวลาจ้างงาน ผู้หญิงที่ท� ำงานอาชีพเดียวกับชายจะได้ค่าจ้างน้อยกว่า ทั้ง ๆ ที่ งานเหมือนกันทุกอย่าง เช่น เป็นครูหรือเป็นพยาบาลเหมือนกันแต่ค่าจ้างจะต่างกัน ในอดีตมีการมีอคติต่อคนศาสนาอื่น เช่น คนนับถือศาสนาคริสต์จะมองว่าคนไม่นับถือศาสนา เหมือนตนเป็นคนนอกรีตที่จะต้องตกนรก ปัจจุบันนี้มีการยอมรับคนต่างศาสนามากขึ้น แต่ก็ยังมีการ ขัดแย้งกันเพราะมีอคติต่อกัน ดังเช่นในกรณีของผู้ก่อการร้ายชาวมุสลิม ส� ำหรับอคติในเรื่องสีผิว สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีอคติเรื่องสีผิวมากที่สุด เพราะมี ประวัติศาสตร์ของการมีทาสชาวแอฟริกันอเมริกัน และหลังการเลิกทาสมีการกีดกันและการแบ่งแยก สีผิวอยู่เป็นเวลานาน แต่สถานการณ์ในสหรัฐอเมริกาดีขึ้นมากโดยเฉพาะเมื่อนายบารัก โอบามา ได้รับ เลือกให้เป็นประธานาธิบดีสีผิวคนแรกของสหรัฐอเมริกา มีการกล่าวถึงสภาพความสัมพันธ์ทางสีผิวของ สหรัฐอเมริกาโดยนักวิชาการสีผิว ออร์แลนโด แพตเตอร์สัน (Orlando Patterson) ผู้ซึ่งเป็นประธาน โครงการศึกษาแอฟริกันอเมริกันที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดว่า “ข้อเท็จจริงทางสังคมเกี่ยวกับอเมริกาคือ แม้ความสัมพันธ์ทางสีผิวยังมีปัญหา แต่ตอนนี้ สหรัฐอเมริกาก็เป็นสังคมที่มีคนส่วนใหญ่ผิวขาวที่รังเกียจผิวน้อยที่สุด เพราะมีประวัติการปกป้องชน กลุ่มน้อยทางกฎหมายที่ดีกว่าทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นชนกลุ่มน้อยผิวขาวหรือผิวด� ำ สังคมอเมริกันให้โอกาส คนผิวด� ำมากกว่าสังคมอื่นซึ่งรวมสังคมแอฟริกาทั้งหมด” (Krauthammer, 1997) สหรัฐอเมริกาแม้ยังไม่ได้บรรลุอุดมการณ์ของการยอมรับและความเสมอภาคเต็มที่ แต่ สหรัฐอเมริกาก็ยอมรับและให้ความเสมอภาคต่อชนกลุ่มน้อยมากกว่าสังคมหลายสังคม ชัยชนะของ โอบามาเป็นสิ่งที่ยืนยันความก้าวหน้าของปัญหาการมีอคติต่อสีผิวที่ดีที่สุด อคติยังมีในสหรัฐอเมริกา เพราะยังมีความขัดแย้งและการท� ำร้ายกันเพราะสีผิว และมีการใช้การพูดตลกเยาะเย้ยคนต่างสีผิวและคน ต่างเผ่าพันธุ์ แต่ในโลกนี้คงไม่มีสังคมใดที่ปราศจากอคติและการดูถูกชนกลุ่มน้อย สังคมไทยเคยดูถูกคน อีสาน ปัจจุบันก็ยังหาความสุขจากการล้อเลียนการพูดของชาวเขา สมัยจอมพล ป. ก็มีการรังเกียจคนเชื้อ สายจีน แต่ตราบเท่าที่การล้อเลียนดูถูกมิได้เป็นนโยบายท� ำลายพวกเขา การมีอคตินั้นก็ยังเป็นเรื่องปรกติ ที่มีในทุกสังคม ตราบเท่าที่มนุษย์เรามีการแบ่งพวกเขา พวกเรา และมีการปกปิดปมด้อยของตนโดยการ ดูถูกคนอื่น การใช้ชนกลุ่มน้อยเป็นแพะรับบาป เป็นเป้าของการแสดงอคติ และการกีดกัน เป็นเรื่องที่คน มีความคับข้องใจมักจะท� ำ ในทางใต้ของสหรัฐอเมริกาในยุคหนึ่ง เวลาราคาฝ้ายตกคนขาวจะแขวนคอคน ผิวด� ำมากขึ้น สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ในยามที่เศรษฐกิจตกต�่ ำ ชนกลุ่มน้อยจะได้รับอคติและถูกรังแกมากขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=