สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
65 นพมาศ อุ้งพระ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ วัฒนธรรมและวัฒนธรรมย่อย (subculture) ถ่ายทอด ฉะนั้น สังคมสามารถสร้างการเหมารวมและอคติ ได้ด้วยสังคมประกิต (socialization) และสามารถแก้ภาพที่เคยสร้างด้วยการสร้างภาพและจัดประเภท ใหม่ ถ้าประธานาธิบดีบารัก โอบามา ประสบความส� ำเร็จในการปกครองสหรัฐอเมริกา การเหมารวมเชิงลบ เกี่ยวกับชาวแอฟริกันอเมริกันจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น นอกจากนี้ ปรากฏการณ์ในสังคมก็สร้างภาพและการเหมารวมได้ ทุกวันนี้ภาพของคนไทยที่รัก สงบได้หายไป ความขัดแย้งทางสังคมท� ำให้เรามีภาพเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความขัดแย้ง คนไทยไม่ใช่ ยิ้มเก่ง รักสงบอีกต่อไป ประเทศไทยกลายเป็นชาติที่ขัดแย้งไม่น่าอยู่ กลุ่มที่ขัดแย้งต่างเหมารวมอีกฝ่าย และตั้งเป้าไม่เห็นด้วยกับอีกฝ่าย ต่างฝ่ายต่างมีการยืนยันอคติ (confirmation bias) มุ่งสนใจเรื่องที่ยืนยัน ความคาดหวังและความคิดของฝ่ายตน ท� ำให้ความขัดแย้งไม่ยุติและอาจจะรุนแรงขึ้น การเอาชนะ การเหมารวม และการลดอคติ การเหมารวมและอคติเป็นเรื่องที่มีมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ ความเสียหายที่ได้สร้างขึ้นนั้น มีมากมาย ที่เห็นได้ชัดที่สุดคืออคติและการเหมารวมก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เช่น ในกรณีฆ่าคนยิวไป ๖ ล้านคนของนาซีเยอรมัน สาเหตุการฆ่าคนบริสุทธิ์เร็ว ๆ นี้ คือ กระบวนการก่อการร้ายของชาวมุสลิม ที่มีกระบวนการจีฮัด อ้างศาสนาอ้างพระเป็นเจ้า ตั้งข้อขัดแย้งกับชาวตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และปลุกปั่นให้ชาวมุสลิมต่อต้านสังคมที่ตนไปอาศัยอยู่ และเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๘ ก็เกิด การก่อการร้ายที่มุมไบ ประเทศอินเดีย ซึ่งฆ่าคนบริสุทธิ์ไปเกือบ ๒๐๐ คน การสร้างอคติต่อคนศาสนาอื่น และท� ำการพลีชีพฆ่าตนเองและฆ่าผู้บริสุทธิ์ ได้กลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่อังกฤษ บาหลี สเปน อินเดีย หรืออิรัก มนุษย์แบ่งแยกกันด้วยเหตุผลทางสีผิว เพศ และศาสนา แม้ศาสนาเดียวกัน เช่น เป็นมุสลิมชาวชีอะฮ์หรือซุนนีก็ยังเป็นประเด็นของความขัดแย้ง แบ่งพวกตน (ingroup) และพวก เขา (outgroup) แล้วก็เหมารวมและมีอคติต่อกัน พร้อมกับอาจมีพฤติกรรมท� ำลายบุคคลที่ตนมีอคติต่อ ไม่ว่าจะฆ่าทิ้งหรือกีดกันทางสังคม มี discrimination เช่น ไม่จ้างงาน ไม่ให้เช่าบ้าน ไม่ให้การศึกษา หรือท� ำเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้ถูกรังเกียจไม่ได้รับความยุติธรรม ถ้าถามว่าสถานการณ์ปัจจุบันดีขึ้นไหม ปัจจุบันนี้อาจไม่มีสงคราม เช่น สงครามโลก สงครามคู เสด และไม่มีปรากฏการณ์รังเกียจกีดกันเพราะสีผิว เช่น อะพาไธด์ของแอฟริกาใต้ แต่การเหมารวมและการ กีดกัน และการท� ำร้ายกันเพราะอคติก็ยังมีอยู่ การท� ำร้ายกันเพราะเพศยังมีในประเทศจีน อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน ฯลฯ ซึ่งมีอคติต้องการลูกชายและให้มีการท� ำแท้งถ้าเด็กในครรภ์เป็นเด็กหญิง ในประเทศจีนมีการ ทิ้งเด็กหญิงหรือท� ำให้พิการเพื่อขอสิทธิ์มีลูกใหม่เพราะประเทศจีนก� ำหนดให้มีลูกคนเดียว ทั้งในอินเดีย จีน เกาหลี ไต้หวัน ซึ่งนิยมมีลูกชายก็มีการท� ำแท้งเด็กหญิง จนสังคมเหล่านั้นมีคนเพศชายมากกว่าหญิง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=