สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 64 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ในท� ำนองเดียวกัน พวกที่เน้นความเด่นกว่าทางสังคม (social dominance orientation) ซึ่ง มองว่ามนุษย์มีความไม่เสมอภาคของความดีความชอบ (merit) และความดี (goodness) ก็มีอคติต่อ ความเสมอภาคของโอกาส ในทางตรงกันข้ามพวกที่เน้นการอยู่ร่วม (communal) หรือเน้นความเป็น สากล (universal orientation) ซึ่งเน้นความเหมือนกันของมนุษย์ และยอมรับ “สิทธิมนุษยชนสากลซึ่ง ลูกพระเป็นเจ้าทุกคนพึงมี จะยอมรับโครงการช่วยชนกลุ่มน้อยโดยให้โควตาเข้ามหาวิทยาลัยพิเศษ (affirmative action) และยอมรับคนที่ไม่เหมือนตนมากกว่า (Phillips & Ziller, 1997; Pratto & others, 1994, 2000; Sidanius, & others, 1996; Whitley, 1999) แนวโน้มความเชื่อและบุคลิกภาพของคนมี บทบาทต่อการมีอคติของคน และมีผลต่อการปฏิบัติต่อคนกลุ่มอื่น เช่น คนสีผิวอื่น และคนที่ด้อยกว่าตน และคนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม คนที่มีอคติต่อคนกลุ่มหนึ่งมีแนวโน้มที่จะมีอคติต่อกลุ่มอื่น ๆ ด้วย เวลามีอคติ จะมีการมองคนกลุ่มอื่นว่าเหมือนกันหมด มี outgroup homogeneity effect และมองคนที่ตนรู้จักว่า เป็นข้อยกเว้น เช่น มองว่าคนด� ำซึ่งเป็นเพื่อนตนที่ฉลาดเป็นข้อยกเว้น เพราะคิดว่าคนด� ำทั่วไปด้อยปัญญา อคติและการรู้คิด การมีอคติและการเหมารวมมิได้เกิดจากการวางเงื่อนไขของสังคม และท� ำให้คนหาแพะรับบาป มาระบายความคับข้องใจเท่านั้น แต่มันยังเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการรู้คิดธรรมดาด้วย เพราะมนุษย์เรามี แนวโน้มที่จะท� ำทุกอย่างให้ง่ายต่อความเข้าใจมากขึ้น โดยการจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ (categorization) เราจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ด้วยการเหมารวม การจัดทุกอย่างเป็นกลุ่มเป็นประเภทท� ำให้เราไม่ต้องใช้ ความพยายามเพื่อเข้าใจสิ่งนั้น เราจะเรียกว่า การเหมารวม และเรียกอคติว่าเป็นทางลัดทางจิต (heuristics) ก็ว่าได้ เราใช้การเหมารวมเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ เราจัดคนเป็นเผ่าพันธุ์ เพศ วัย และสีผิว จากนั้น เราก็ปฏิบัติต่อพวกเขาตามการเหมารวม การจัดคนเป็นประเภทมิได้เป็นอคติ แต่มันเป็นรากฐานที่สร้าง อคติได้ การเหมารวมท� ำให้การใช้ชีวิตง่ายขึ้น และบ่อยครั้งการเหมารวมมักมีส่วนจริงอยู่บ้าง (kernel of truths) เรามักจะเหมารวม เช่น บอกว่าผู้ชายชอบแข่งขันและไว้ใจไม่ได้ คนแอฟริกันอเมริกันเก่งเรื่องดนตรี และกีฬา ผู้หญิงอ่อนโยนหรือเจ้าอารมณ์ ชาวยุโรปคลาสซี (มีระดับ) แต่หยิ่ง คนไทยยิ้มเก่ง การเหมารวม ดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะมนุษย์มีความขี้เกียจใช้ความคิด งานวิจัยได้แสดงว่าการเหมารวมท� ำให้คนอนุรักษ์พลังไม่ต้องใช้พลังงานมาก ในการพิจารณา สิ่งต่าง ๆ เราใช้การเหมารวมในการคิดถึงคนอื่น เมื่อเราไม่สามารถตัดสินใจว่าเขาเป็นอย่างไร และปรกติ เรามักอาศัยข้อมูลที่ได้จากแหล่งต่าง ๆ ในการตัดสินมากกว่าประสบการณ์ตรง เราคิดถึงคนจีนในแง่ ต่าง ๆ เพราะเราเรียนรู้จากสื่อและจากค� ำบอกเล่า โอกาสที่เราจะรู้จักคนจีนโดยตรงจะมีน้อย ด้วยเหตุนี้ เราจึงได้ความคิดและข้อมูลจ� ำนวนมากจากการเหมารวมของผู้อื่น จากสิ่งที่มีอยู่ในสังคม เพราะเป็นสิ่งที่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=