สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

63 นพมาศ อุ้งพระ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ การดูถูกกลุ่มอื่นสร้างความสามัคคีของกลุ่มตน ความสามัคคีของกลุ่มเกิดจากความเชื่อว่ากลุ่มตนเหนือ กว่ากลุ่มอื่น สมาชิกของกลุ่มเสริม self-esteem โดยการตอกย�้ ำความเหนือกว่าของกลุ่มตนและดูถูก กลุ่มอื่น หรือท� ำให้กลุ่มอื่นเป็นศัตรู บุคลิกแบบเผด็จการ (The authoritarian personality) ความต้องการทางอารมณ์ (emotional needs) ท� ำให้เกิด อคติ บุคลิกแบบเผด็จการมีความ ต้องการทางอารมณ์ซึ่งท� ำให้เกิดอคติ ในช่วงทศวรรษที่ ๑๙๔๐ ผู้วิจัย ๒ คนที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่เบิร์กเลย์ซึ่งได้หนีจากเงื้อมมือของพวกนาซี ได้รีบท� ำวิจัยเพื่อค้นหาสาเหตุทางจิตวิทยาของการต่อต้าน คนยิวซึ่งรุนแรงมากจนฆ่าคนยิวนับล้าน และท� ำให้ชาวยุโรปนับล้านกลายเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ที่ไม่สนใจ ใยดี ในการศึกษาผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน ทีโอดอร์ อดอร์โน และคณะ (Theodor, Adorno, et al., 1950) ค้นพบว่าความรู้สึกเป็นศัตรูต่อชาวยิวมักเกิดขึ้นพร้อมกับความรู้สึกเป็นศัตรูกับชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ด้วย ดูเหมือนว่าอคติมิใช่จะมีต่อเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นวิธีคิดถึงคนที่ต่างกับตนทั่วไป นอกจากนี้ ผู้มีอคติซึ่งเห็นเผ่าพันธุ์ของตนเป็นศูนย์กลางทุกอย่าง (ethnocentric) มีบุคลิกเผด็จการด้วย พวกเขาไม่ ชอบความอ่อนแอ ชอบท� ำโทษคน และยอมจ� ำนนต่อผู้มีอ� ำนาจในกลุ่มตน เคารพผู้มีอ� ำนาจมาก ซึ่งสะท้อน ในค� ำพูดที่ว่า “ความเชื่อฟังและความเคารพผู้มีอ� ำนาจเป็นคุณสมบัติที่ส� ำคัญที่สุดที่เด็ก ๆ ควรเรียนรู้” ในยามเป็นเด็ก บุคคลที่เป็นเผด็จการจะถูกพ่อแม่ท� ำโทษหนัก ท� ำให้พวกเขาเก็บกดความรู้สึก เป็นศัตรู และมีแรงขับให้ระบายต่อกลุ่มอื่น ความไม่มั่นใจของเด็กเผด็จการท� ำให้พวกเขาหมกมุ่นกับอ� ำนาจ และสถานะ และมีความคิดที่ไม่ยืดหยุ่นเกี่ยวกับความผิดความถูก และทนสิ่งที่คลุมเครือไม่ได้ ทุกอย่าง ต้องแจ่มชัด พวกเขายอมสยบต่อผู้มีอ� ำนาจและปฏิบัติต่อผู้ด้อยกว่าด้วยความก้าวร้าวและชอบท� ำร้าย ผู้ที่อ่อนแอกว่าตน นอกจากนี้ การศึกษาสมัยใหม่เกี่ยวกับคนเผด็จการซีกขวา (right-wing authoritarians) โดย นักจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยมานิโทบา (University of Manitoba) ชื่อ บ็อบ อัลเทเมเยอร์ (Bob Altemeyer, 1988, 1992) ได้ยืนยันว่ามีคนที่แสดงอคติเพราะมีความกลัวและความรู้สึกเป็นศัตรู ความรู้สึกเหนือกว่าทางศีลธรรมอาจเกิดขึ้นพร้อมกับการท� ำทารุณกับคนที่ตนคิดว่าด้อยกว่า อคติในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ต่อคนผิวด� ำ ต่อพวกรักร่วมเพศ ต่อผู้หญิง ต่อผู้สูงอายุ ต่อคนอ้วน ต่อคนเป็นเอดส์ และต่อคนเร่ร่อน มักมีในคน ๆ เดียว คนที่มีอคติมักมีอคติต่อคนหลากหลาย (Bierly, 1985; Crandall, 1994; Peterson & other, 1993; Snyder & Ickes, 1985) อัลเทเมเยอร์สรุปว่า พวกเผด็จการ ฝ่ายขวามักเป็นพวกมีอคติต่อความเสมอภาคของโอกาส

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=