สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 62 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 & West, 1988; Hovland & Sears, 1940) สังคมดูเหมือนจะมีความสงบสุขมากกว่าในยามที่มีเศรษฐกิจ ดี ชาวเยอรมันฆ่ายิวในยามที่เศรษฐกิจไม่ดีสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เมื่อมีปัญหาก็หาแพะรับบาปมา ระบายอารมณ์ เวลาอารมณ์ไม่ดีโอกาสที่จะระบายอารมณ์ใส่เป้าหมายที่ปลอดภัยจะมีสูงขึ้น พลวัตของบุคลิกภาพ สิ่งส� ำคัญเกี่ยวกับพลวัตของบุคลิกภาพคือ ความต้องการสถานะ (need for status) ความเคารพ ตนเอง (self-regard) และการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม (belonging) สถานะเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ ในการคิดว่าตนมีสถานะสูงเราต้องมีคนที่ด้อยกว่าเรา ดังนั้น อคติมีประโยชน์ต่อคนบางพวก เพราะการมี อคติต่อกลุ่มอื่นสร้างความรู้สึกว่าตนเหนือกว่า จิตของมนุษย์มีความละเอียดในแง่ของการรักษาภาพพจน์ ของตน เวลามีคนล้มเหลวโดยเฉพาะถ้าเขาเป็นคู่แข่ง เราจะแอบดีใจ ในยุโรปและอเมริกาเหนือคน ที่มีอคติมากกว่าคือ พวกที่มีสถานะทางเศรษฐกิจไม่มั่นคงและคนที่ภาพพจน์ส่วนตนถูกกระทบ เช่น สอบตก หรือถูกดูถูก (Lemyre & Smith, 1985; Pettigrew & others, 1998) ฉะนั้น คนที่มีความมั่นคงของ สถานะอาจมีความจ� ำเป็นที่จะดูถูกคนอื่นน้อยกว่า คนเชื่อมั่นเป็นพวกที่มีอคติน้อยกว่า มีงานวิจัยชิ้นแล้วชิ้นเล่าค้นพบว่า การท� ำให้คิดถึงความตายด้วยการให้เขียนข้อความเกี่ยวกับการ ตาย เร้าให้เกิดความรู้สึกกลัวตาย วิธีนี้สร้างความวิตกกังวลและความรู้สึกไม่มั่นใจในชีวิตของตน จนเมื่อ ถูกทดลองแสดงอาการมีอคติเข้าข้างกลุ่มตนและรังเกียจกลุ่มอื่น (Greenberg & others, 1990; 1994; Harmon-Jones & others, 1996; Schimel & others, 1999; Solomon & others, 2000) เมื่อนึกถึง ความตาย บุคคลจะเกิดอาการกลัวตาย (terror management) และเริ่มมีอคติดูถูกคนที่มาท้าทายโลก- ทัศน์ เวลาที่คนรู้สึกกลัวและไม่มั่นใจ อคติจะช่วยเสริมระบบความเชื่อว่าตนเหนือกว่า ไม่เป็นอะไรง่าย ๆ มีการพบว่าชายที่ไม่มั่นใจในความสามารถของตนจะแสดงท่าทีดูถูกผู้หญิงว่าอ่อนแอ และต้องพึ่ง ผู้ชาย เมื่อโจเอล กรูบ แรนดี ไคลน์เฮสเซลิงก์ และแคทลีน เคียร์นีย์ (Joel Grube, Randy Kleinhesse- link, and Kathleen Kearney, 1982) ให้นักศึกษาชายที่มหาวิทยาลัยรัฐวอชิงตัน (Washington State University) ดูวิดีโอภาพหญิงสาวสัมภาษณ์งาน พบว่าชายที่ยอมรับตนเองน้อย (low self-acceptance) จะไม่ชอบหญิงที่แข็งแกร่ง ทันสมัย (nontraditional) ส่วนชายที่มีการยอมรับตนเองสูง (high self- acceptance) จะชอบหญิงเหล่านั้นมากกว่า ดังนั้น การสร้างความมั่นใจจะท� ำให้พวกเขาประเมินกลุ่มอื่น (outgroup) เชิงบวก แต่การกระทบความภูมิใจในตนจะท� ำให้พวกเขาดูถูกคนกลุ่มอื่น (Fein & Spencer, 1997; Spencer & others, 1998) การดูถูกคนกลุ่มอื่นสนองความต้องการอีกอย่างคือ สร้างความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันของกลุ่ม ตน การมีศัตรูร่วมสร้างความสามัคคี ฮิตเลอร์ใช้คนยิวเป็นศัตรูร่วมในการสร้างความร่วมมือของชาวเยอรมัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=