สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
61 นพมาศ อุ้งพระ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ จะมีเอกลักษณ์ต่อกลุ่มมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าเจอความล้มเหลวส่วนตัวมาก่อน ยิ่งรับเอกลักษณ์ของกลุ่มก็ ยิ่งชอบกลุ่มตนและมีอคติต่อกลุ่มอื่นมากขึ้น อะไรที่เป็นของกลุ่มตนเป็นเรื่องดี (Brewer, 1979) และกลุ่ม อื่นคือความไม่ดี (Rosenbaum & Holz, 1985) นอกจากนี้ การมีปทัสถานร่วม (shared norms) ยังท� ำให้เกิดพฤติกรรมท� ำตาม (conformity) กลุ่ม ท� ำให้มีอคติส่วนรวม ซึ่งท� ำให้คงไว้ซึ่งอคติต่อเพศและสีผิวได้ อคติบางอย่างมีการสืบทอดเพราะมี สถาบันสนับสนุน ในสหรัฐอเมริกาก่อนปี ๑๙๕๔ ซึ่งเป็นปีที่ศาลสูงอเมริกาประกาศว่าการแบ่งแยกสีผิว (segregation) โดยเฉพาะในโรงเรียนเป็นการผิดกฎหมาย มีสถาบันซึ่งก็คือโรงเรียนในรัฐที่สนับสนุนการ แบ่งแยกทางสีผิว ส่งเสริมอคติต่อสีผิว ท� ำให้ประเพณีเรื่องการสืบทอดอคติได้ต่อเนื่อง มาจนศาลสูงของ อเมริกาต้องประกาศว่าผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงมีความส� ำคัญอย่างยิ่งที่สังคมสมัยใหม่ซึ่งส่งเสริมนโยบาย ผสมกลมกลืน (assimilation) จะต้องประกาศให้เลิกมีการกีดกัน รังแกชนกลุ่มน้อย เพราะถ้าสถาบันส่ง เสริมอคติการแก้ไขปัญหาจะเป็นไปไม่ได้เลย การส่งเสริมอคติโดยสื่อได้รับการค้นพบในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง เดน อาร์เชอร์ และคณะ (Dane Archer, et al., 1983) ได้ตรวจสอบภาพถ่าย ๑,๗๕๐ ภาพ พบว่าประมาณ ๒ ใน ๓ ของภาพถ่ายผู้ชาย และน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของภาพถ่ายผู้หญิงเน้นที่หน้า อาร์เชอร์ได้ขยายการค้นคว้าและพบว่าปรากฏการณ์ “หน้านิยม” (face-ism) เป็นเรื่องเกิดขึ้นทั่วไป เขาพบการแสดงหน้าผู้ชายมากกว่าในนิตยสารของ ๑๑ ประเทศ และในภาพวาด ๙๒๐ ชิ้นซึ่งรวบรวมไว้ในช่วง ๖ ศตวรรษ และรวมทั้งในภาพวาดสมัครเล่นของ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาครูส จอร์เจีย นิโกร และคณะ (Georgia Nigro, et al., ๑๙๘๘) ได้ยืนยันปรากฏการณ์ “face-ism” ในนิตยสารเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมทั้ง Ms. ซึ่งเป็นนิตยสารสตรี ผู้วิจัยสงสัยว่าการเน้นภาพหน้าบุรุษและรูปร่างสตรีสะท้อนอคติทางเพศซึ่งมีมานาน ในงานวิจัย ที่เยอรมนี นอร์เบิร์ต ชวอร์ซ และอีวา เคิร์ซ (Norbert Schwarz and Eva Kurz, 1989) ได้ยืนยันว่า หน้าของคนที่อยู่ในภาพดูเหมือนฉลาดและทะเยอทะยานกว่า หน้าเป็นสัญลักษณ์ของความฉลาด และภาพ หญิงสาวซึ่งแสดงรูปร่างมากกว่าแสดงความเป็นสัญลักษณ์ของวัตถุทางเพศโดยไม่ได้ตั้งใจ สื่อน� ำเสนออคติ ที่มีต่อเพศโดยการน� ำเสนอภาพถ่าย อารมณ์ที่ท� ำให้เกิดอคติ : ความคับข้องใจและความก้าวร้าว การหาแพะรับบาป เมื่อเราถูกท� ำให้คับข้องใจและไม่สามารถระบายกับต้นตอของความคับข้องใจ เราจะหาแพะรับบาป ปรากฏการณ์การสับเปลี่ยนแรงก้าวร้าว (displaced aggression) อาจเป็นสาเหตุ ของการแขวนคอคนผิวสี ในช่วงปีหลังสงครามกลางเมืองในสหรัฐอเมริการะหว่างปี ๑๘๘๒ และ ๑๙๓๐ มีการแขวนคอคนด� ำมากขึ้นเมื่อราคาฝ้ายตกและเมื่อมีความคับข้องใจทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น (Hepworth
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=