สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 60 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ยิ่งล� ำบากมากขึ้นเมื่อต้องคอยกังวลว่าจะท� ำอย่างไรจึงจะไม่ยืนยันอคติที่เขามีอยู่ ความล้มเหลวจะยืนยัน ว่าการเหมารวมเป็นจริง ไม่มีใครอยากล้มเหลว และคนหลายคนจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะล้มเหลว ถ้าความล้มเหลวไม่เกี่ยวกับคุณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคนทุกคนในกลุ่มของคุณ ภาระของความล้มเหลว จึงใหญ่หลวงนัก ด้วยเหตุนี้หลายคนอาจไม่สู้ ถอนตัวจากการถูกทดสอบเพื่อลดความกดดัน อาจท� ำให้ ไม่เรียนหนังสือ เพื่อไม่ต้องสอบ การข่มขู่ของการเหมารวมมีผลเสียต่อจิตวิทยาของทั้งคนสีผิวและสตรี ซึ่งถูกเหมารวมในเชิงลบ เอกลักษณ์ทางสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เรามิได้มีเพียงเอกลักษณ์ส่วนบุคคล แต่เรายังมีเอกลักษณ์ทางสังคม (social identity) จอห์น เทอร์เนอร์ (John Turner, 1999) นักจิตวิทยาสังคมชาวออสเตรเลียได้ร่วมงานกับ อองรี ทอชเฟล (Henri Tajfel) เสนอทฤษฎีเอกลักษณ์ทางสังคม (social identity theory) โดยที่ทั้งคู่ เสนอว่า • เราจัดประเภท (we categorize) เพราะเรารู้สึกว่าการจัดผู้คนรวมทั้งตัวเราเองให้เป็น ประเภทมีประโยชน์ การจัดให้คนเป็นคนไทย เป็นคนอังกฤษ เป็นคนขับรถ เป็นวิธีลัดที่เราจะบอกว่าเขา เป็นอะไร ถ้าไม่จัดประเภท เราจะไม่รู้ว่าจะเรียกเขาว่าเป็นอะไร • เรารับเอกลักษณ์ (we identify) เราเชื่อมตัวเองกับบางกลุ่ม (กลุ่มของเรา - ingroups) และได้ความภูมิใจในตน (self-esteem) จากการเชื่อมโยง • เราเปรียบเทียบ (we compare) เราเปรียบกลุ่มของเรากับคนกลุ่มอื่น (outgroups) พร้อม กับมีอคติเข้าข้างกลุ่มตน (group serving bias) เมื่อกลุ่มท� ำดีเรารับเครดิต และเมื่อกลุ่มท� ำผิดเราโทษ เหตุอื่นหรือกลุ่มอื่น เรามีแนวโน้มที่จะให้ความส� ำคัญแก่กลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเอกลักษณ์ส่วนตน (personal identity) ของเราไม่ดี ด้วยเหตุนี้ คนที่มีสถานะทางสังคมต�่ ำจึงมีแนวโน้มที่จะมีอคติสูง มีความรักกลุ่ม และแสดงความรักชาติแบบสุดโต่ง คนที่เอกลักษณ์ส่วนตนไม่มั่นคง ยังมีแนวโน้มที่จะเข้าลัทธิทางศาสนา เข้ากลุ่มได้มากกว่า และมีแนวโน้มที่จะมีอคติสูง เนื่องจากเรารับเอกลักษณ์ทางสังคม เราจะท� ำตามปทัสถานของกลุ่ม เราจะอุทิศตนให้ทีมงาน ครอบครัว และชาติ เราจะรังเกียจกลุ่มอื่น (outgroups) ยิ่งเอกลักษณ์ทางสังคมของเรามีความส� ำคัญ เท่าใด เรายิ่งจะมีอคติเมื่อกลุ่มของตนถูกข่มขู่ ความสามัคคีของกลุ่ม เช่น ความเป็นพวกเสื้อเหลืองหรือ เสื้อแดงของประเทศไทย การมีเอกลักษณ์ร่วมเป็นสี เป็นพันธมิตร เป็น นปช. สร้างอคติที่มีต่อกันจนเกิด การกระทบกระทั่งกัน ยิ่งกลุ่มประสบความส� ำเร็จ ความภูมิใจและความรู้สึกเป็นพวกก็ยิ่งเพิ่มขึ้น บุคคล

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=