สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 58 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ถ้าคนนั้นอยากดูแมนและแข็งแกร่ง งานวิจัยได้พิสูจน์ว่าเด็กชายที่หน้าเด็กซึ่งรวมทั้งเด็กที่ท� ำผิดกฎหมาย มีผลการเรียนดีกว่าเพื่อนหน้าผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นการปฏิเสธการเหมารวมที่ว่าคนหน้าเด็กมีเชาวน์ปัญญา ด้อยกว่า (Zebrowitz, Andreoletti, Collins, Lee & Blumenthal, 1998) มีการพบว่าเด็กผู้ชาย ชนชั้นล่างที่หน้าเด็กก่ออาชญากรรมมากกว่าเพื่อนหน้าผู้ใหญ่ ปฏิเสธการเหมารวมที่ว่าคนหน้าเด็ก อบอุ่น ยอมคน และร่างกายอ่อนแอ (Zebrowitz, et al., 1998) พูดง่าย ๆ คือ เมื่อธรรมชาติสร้าง ให้เด็กชายมีหน้าเด็ก เด็กคนนั้นอาจพยายามพิสูจน์มากขึ้นว่าตนมิได้เป็นเด็ก ด้วยการเรียนดี หรือไม่ก็ก่อ อาชญากรรมและความรุนแรง นักสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่มักคิดว่า การตราหน้าที่ถูกท� ำให้เป็นจริงน่าจะมีผลกระทบเหยื่อมาก เพราะคนส่วนใหญ่อดไม่ได้ที่จะซึมซับการเหมารวมที่สังคมมอบให้ อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งคนก็ต่อต้าน การเหมารวมได้ ในสังคมอเมริกันซึ่งมีการเหมารวมเกี่ยวกับความด้อยของคนผิวด� ำ แต่คนผิวด� ำหลายคน เช่น ประธานาธิบดีบารัก โอบามา โอปราห์ วินฟรีย์ และไทเกอร์ วูดส์ ก็ได้พิสูจน์เองแล้วว่า ถ้ามีความ เพียรและความสามารถ คนผิวด� ำก็สามารถสร้างความส� ำเร็จอย่างมหาศาล พิสูจน์ว่าการตราหน้าผิดได้ และชาวแอฟริกันอเมริกันทุกวันนี้ก็ได้สร้างวัฒนธรรมของตน ประสบความส� ำเร็จอย่างสูงทางดนตรีและ กีฬาในสหรัฐอเมริกา ทั้ง ๆ ที่ในอดีตเคยถูกตราหน้าว่าด้อยปัญญา ขี้เกียจ และก้าวร้าว การข่มขู่ของการเหมารวม (stereotype threat) เวลาคนอยู่ในสถานการณ์ที่มีการคาดหวังว่าเขาจะท� ำผลงานได้ไม่ดี ความวิตกกังวลอาจท� ำให้ คน ๆ นั้นท� ำให้ความคาดหวังให้เป็นจริง คลอด สตีล และคณะ (Claude Steele, et al.) เรียกปรากฏการณ์ นี้ว่า การข่มขู่ของการเหมารวม (stereotype threat) ซึ่งหมายถึงความประหม่าที่ยืนยันตนเองเมื่อถูก ประเมินด้วยการเหมารวมเชิงลบ เมื่อถูกประเมินด้วยการเหมารวมเชิงลบ ความประหม่าอาจท� ำให้คน ๆ นั้นมีการกระท� ำที่ยืนยันการเหมารวม ในการทดลองหลายรายการ สตีเวน สเปนเซอร์, สตีล และไดแอน ควินน์ (Steven Spencer, Stele, and Diane Quinn, 1999) ได้ท� ำการทดสอบทางคณิตศาสตร์ที่ยากมากกับนักศึกษาชายและ หญิงที่มีภูมิหลังทางคณิตศาสตร์คล้ายกัน เมื่อมีการบอกว่าไม่มีความแตกต่างทางเพศในการทดสอบ ไม่มีการเหมารวมทางเพศ นักศึกษาหญิงท� ำข้อสอบได้ดีเท่านักศึกษาชายเสมอ แต่เวลามีการบอกว่ามีความ แตกต่างทางเพศ นักศึกษาหญิงท� ำข้อสอบแย่ลงอย่างมาก นักศึกษาหญิงที่เจอข้อสอบยากอยู่แล้วและ เกิดรู้สึกประหม่าท� ำให้ท� ำแย่ลงมาก ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นอีกเมื่อไมเคิล อินสลิชต์ และทาเลีย เบน-ซีฟ (Michael Inslicht and Talia Ben-Zeev, 2000) ให้นักศึกษาหญิงท� ำข้อสอบคณิตศาสตร์ยาก ๆ พบว่า เมื่อท� ำข้อสอบร่วมกับหญิงอีก ๒

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=