สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
55 นพมาศ อุ้งพระ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ของความได้เปรียบทางสังคม และไม่มีความเห็นใจผู้ประสบความทุกข์ยาก เพราะพวกเขาสมควรได้รับสิ่ง ที่ได้รับอยู่แล้วตามหลักศาสนาเท่าที่รับรู้โดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ในต่างประเทศ พบว่าการเปรียบเทียบในหมู่ผู้เข้าโบสถ์ พบว่าพวกที่เข้าโบสถ์ สม�่ ำเสมอมีอคติน้อยกว่าพวกที่เข้าโบสถ์นาน ๆ ครั้ง (Batson & Ventis, 1982) กอร์ดอน ออลพอร์ต และไมเคิล รอสส์ (Gordon Allport & Michael Ross, 1967) พบว่า ส� ำหรับ คนพวกที่ถือว่าศาสนาคือทุกอย่าง เป็นเป้าหมายในชีวิต (พวกที่เห็นด้วยกับค� ำว่า “ความเชื่อทางศาสนา ของฉันคือรากฐานชีวิตของฉัน”) แสดงอคติน้อยกว่าบุคคลที่ใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือเพื่อเป้าหมายของตน (คนที่บอกว่า “สาเหตุที่ฉันเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาก็เพื่อเข้าสังคม”) และมีการพบว่า บุคคลที่มีคะแนน สูงสุดในแกลลัปโพลเกี่ยวกับ “การอุทิศตนเพื่อจิตวิญญาณ” (spiritual commitment) จะยินยอมให้ คนสีผิวอื่นย้ายมาอยู่ละแวกบ้านตนมากกว่า (Gallup & Jones, 1992) (ในสหรัฐอเมริกา การมีคนสีผิว อื่นย้ายเข้ามาในละแวกบ้านเช่นถิ่นคนขาว อาจท� ำให้บ้านราคาตกก็ได้ คนขาวบางครั้งจึงไม่ยอมรับคน เพื่อนบ้านผิวสี) นอกจากนี้ ยังพบว่าบาทหลวงและพระของนิกายโปรเตสแตนต์และคาทอลิกให้ความ สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิประชาชน (civil rights movement) ในสหรัฐอเมริกามากกว่าคน ทั่วไป (Fichter, 1968; Hadden, 1969) ในเยอรมนีมีพระร้อยละ ๔๕ ในปี ๑๙๓๔ เข้าร่วมกับ Confes- sing Church ซึ่งจัดกระบวนการต่อต้านรัฐบาลนาซี (Reed, 1989) ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับอคติมีความซับซ้อนมาก คนที่นับถือศาสนาอย่างฉาบฉวย ใช้ศาสนาเพื่อประโยชน์ส่วนตน อ้างพระเป็นเจ้า อ้างกฎแห่งกรรม เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับความ ได้เปรียบของตน และบอกว่าคนได้รับทุกข์ควรได้รับอยู่แล้วเพราะพระเป็นเจ้าท� ำโทษหรือตามหลัก ของกรรม แต่ก็พบว่าคนที่เคร่งศาสนาจริงและมีความลึกซึ้งในค� ำสอนจะมีอคติน้อยกว่า และช่วยเหลือ ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีทุกข์มากกว่า บุคคลที่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมและเชื่อเรื่องเมตตาธรรมด้วยจะมีความ เห็นใจผู้มีทุกข์และด้อยโอกาสมากกว่า ดังนั้น ศาสนาจึงเป็นได้ทั้งข้ออ้างในการรักษาความได้เปรียบ และ เป็นได้ทั้งความลึกซึ้งที่ท� ำให้คนมีอคติน้อยลงและช่วยเหลือคนอื่นมากขึ้น มีคนตั้งข้อสังเกตว่าสังคมไทย ไม่ค่อยสร้างสิ่งก่อสร้างที่เอื้ออ� ำนวยความสะดวกของผู้พิการเท่าสังคมอื่น เป็นไปได้ไหมที่ความเชื่อเรื่อง กฎแห่งกรรมท� ำให้เห็นใจคนพิการน้อยหรือไม่ ศาสนาจึงมีบทบาททั้งเป็นข้ออ้างของความไม่เสมอภาค และเป็นหนทางของการอุทิศตนทางจิตวิญญาณช่วยเหลือผู้อื่น ศาสนาทุกศาสนาสอนให้คนท� ำความดี แต่มีผู้ที่ต้องการใช้ศาสนาเพื่อสนองความต้องการของ ตน นักการเมืองเป็นพวกที่ใช้ศาสนาสนับสนุนการกระท� ำของตนมากที่สุด อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ก็โจมตีศาสนา ยิวและโฆษณาชวนเชื่อให้คนเยอรมันเชื่อความเหนือกว่าของเผ่าพันธุ์อารยัน ในยุคสมัยเหตุการณ์ ๙/๑๑
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=