สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 54 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 สังคมตะวันตกมีอคติต่อความเหลื่อมล�้ ำทางสังคมโดยเน้นความเสมอภาค แต่ความเหลื่อมล�้ ำหรือความ ไม่เสมอภาคทางสังคมถ้าไม่มีการกดขี่เอาเปรียบ แต่เป็นความสัมพันธ์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัย เช่น ในระบบ อุปถัมภ์ของไทยจะเป็นการตอบสนองความต้องการของกันและกัน เป็นระบบ patron-client ที่มีการ ต่างตอบแทนความต้องการของกันและกัน มี reciprocity มีผู้อุปถัมภ์ (patron) ที่ให้ความดูแลและ การคุ้มครอง ส่วนผู้รับการคุ้มครองดูแล (clients) ก็รับใช้ผู้อุปถัมภ์ ต่างฝ่ายต่างสนองความต้องการ ของกันและกัน โดยมีความสัมพันธ์ที่ไม่เสมอภาค (hierarchical relationship) สังคมญี่ปุ่นก็เหมือนกัน มีความสัมพันธ์แบบการมีพระคุณกับการที่มีหน้าที่ต้องตอบสนองคุณ (on and giri) สังคมตะวันออก ที่มีระบบอุปถัมภ์ซึ่งสร้างความสมานฉันท์ของสมาชิกในสังคมที่มีความสัมพันธ์ที่ไม่เสมอภาค ดังนั้น ความไม่เสมอภาคอย่างเดียวที่สร้างอคติ การเหมารวม และการเอาเปรียบ คือ การเน้นความด้อยของ อีกฝ่ายและมีลักษณะความสัมพันธ์แบบผู้กดขี่ (oppressor) และผู้ถูกกดขี่ (oppressed) และความสัมพันธ์ แบบไม่เสมอภาคก็สามารถมีความยุติธรรมและสมานฉันท์ ถ้ามีการต่างสนองความต้องการของกันและกัน แม้มีความไม่เสมอภาคก็ให้เกียรติกันได้ ดังนั้น ประเด็นส� ำคัญที่สร้างอคติมิใช่ว่าเป็นความสัมพันธ์แบบ เสมอภาคหรือไม่เสมอภาค แต่ขึ้นอยู่กับลักษณะของความสัมพันธ์ ความเท่าเทียมกันก็สร้างความขัดแย้ง และอคติได้ ความไม่เท่าเทียมก็อาจมีความสมานฉันท์ ขึ้นอยู่กับลักษณะของความสัมพันธ์ เพียงแต่ความ ไม่เท่าเทียมเป็นข้ออ้างของผู้กดขี่ที่จะเอาเปรียบและกดขี่ผู้ด้อยกว่า ศาสนาและอคติ ส� ำหรับพวกที่ได้ประโยชน์จากความไม่เสมอภาค ศาสนาอาจกลายเป็นเครื่องมือส่งเสริมความ เหลื่อมล�้ ำทางสังคม ส� ำหรับชาวคริสต์ผู้ที่ต้องการใช้ศาสนาเพื่อประโยชน์ในการรักษาสถานะเป็นส่วนตน อาจอ้างได้ว่าทุกอย่างพระเป็นเจ้าสร้าง เพราะฉะนั้นความด้อยกว่าของบางคน อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้า สร้างให้เป็นอย่างนั้น หรือมีปัญหาเพราะพระเป็นเจ้าท� ำโทษ เพราะฉะนั้นก็สมควรแล้วที่จะได้รับความ เสียเปรียบและความทุกข์ ศาสนามิได้เป็นข้ออ้างของชาวคริสต์ที่จะอ้างความชอบธรรมในความได้เปรียบ ของตนเท่านั้น ชาวพุทธก็มีข้ออ้างได้เหมือนกันในกฎแห่งกรรม ความเสียเปรียบและความทุกข์เกิดจาก กรรมเก่า ฉะนั้นสมควรแล้วที่จะต้องชดใช้กรรม ความเชื่อดังกล่าวในศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธเป็น ความเชื่อว่าโลกนี้ยุติธรรมดีอยู่แล้ว (belief in the just world) คนที่เสียเปรียบและทนทุกข์ก็สมควร เป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว เพราะพระเป็นเจ้าสร้างให้เป็นหรือเพราะถูกพระเป็นเจ้าท� ำโทษ หรือเป็นไปตาม กฎแห่งกรรม แนวโน้มดังกล่าวมักเกิดขึ้นกับผู้ที่นับถือศาสนาอย่างผิวเผิน เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา เข้าวัดเข้าโบสถ์ ยึดค� ำสอนของศาสนาทั่วไปเพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิต เล็งผลปฏิบัติ แต่ไม่มีความลึก ซึ้งในค� ำสอน และไม่สนใจรู้ให้ลึกซึ้งนัก ท� ำให้บุคคลพวกนี้เป็นผู้ฉกฉวยผลประโยชน์ อ้างความชอบธรรม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=