สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
53 นพมาศ อุ้งพระ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ อคติไม่ชอบ และปฏิเสธคนบางกลุ่ม การเหมารวมและอคติเกิดจากการเรียนรู้ เพราะข้อมูลเกี่ยวกับคนกลุ่ม อื่นจะได้รับการถ่ายทอดจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เรียนรู้ข้อมูล บุคคล ก็มีแนวโน้มที่จะมีการเหมารวมและอคติโดยธรรมชาติ เราเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับชนกลุ่มอื่น แต่เราเหมารวม และมีอคติ เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะเป็นอย่างนั้น (Baumeister & Bushman, 2008) อคติเกิดขึ้นเพราะเหตุหลายอย่าง เนื่องจากอคติสนองความต้องการหลายอย่าง ประการแรก อคติเป็นสิ่งชี้บ่งว่าเราเป็นใคร เช่น เป็นผู้มีสีผิวขาวที่เหนือกว่าคนสีผิวอื่น ความเชื่อดังกล่าวท� ำให้คนผิว ขาวยอมรับกันและกัน และอาจท� ำให้มีอคติต่อสีผิวอื่น ประการที่ ๒ อคติอาจลดความวิตกกังวลของคนที่ ไม่มั่นใจในตนเอง หรือมีความขัดแย้งในใจ ยกตัวอย่าง คนผิวขาวที่เป็นชนชั้นล่าง (lower class) อาจ ไม่มั่นใจเพราะพวกชนชั้นสูงอาจดูถูก จึงสร้างอคติเรื่องสีผิวเพื่อยืนยันว่าตนเป็นสมาชิกของเผ่าพันธุ์ที่เหนือ กว่า แม้ตนจะด้อยกว่าคนผิวขาวชั้นสูงก็ตาม ประการสุดท้าย อคติอาจสร้างความสุข เพราะการคิดว่าตน เหนือกว่าท� ำให้ตนมีความสุข ในทางจิตใจ อคติเสริมภาพลักษณ์และความภูมิใจในตน การดูถูกคนอื่นสร้าง ภาพลวงว่าตนแน่กว่า เหนือกว่า ลดความวิตกกังวลและความไม่เชื่อมั่นในสถานะ ความไม่เสมอภาคของสถานะและอคติ นักวิชาการตะวันตกซึ่งอยู่ในสังคมที่เน้นความเสมอภาค มีความเชื่อว่าความไม่เสมอภาคของ สถานะสร้างอคติ นายทาสมักมองว่าพวกทาสขี้เกียจ ไร้ความรับผิดชอบ ไม่มีความกระตือรือร้น ไม่มีความ ทะเยอทะยาน มีลักษณะนิสัยที่สมควรเป็นทาส ความสัมพันธ์แบบไม่เสมอภาคดังกล่าวสร้างอคติที่ช่วย ส่งเสริมความเชื่อเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้ที่มีอ� ำนาจและทรัพย์สินในการเอาเปรียบผู้ที่ด้อยกว่า การเหมารวมถูกใช้เป็นเครื่องมือรักษาความได้เปรียบ มีการพบว่าอคติมีมากที่สุดในเขตที่มีทาส ในสมัย ศตวรรษที่ ๑๙ นักการเมืองและนักเขียนชาวยุโรปอ้างความชอบธรรมของการสร้างอาณานิคม ด้วยการ กล่าวถึงการเอาเปรียบชาวพื้นเมืองที่ตกอยู่ภายใต้การครอบครองว่า “มีความด้อย” “สมควรได้รับ การปกป้อง“ และ “เป็นภาระที่พวกตนต้องรับผิดชอบ” (G.W. Allport, 1958) เมื่อ ๕ ทศวรรษที่แล้ว เฮเลน เมเยอร์ แฮ็กเกอร์ (Helen Mayer Hacker, 1951) ได้ชี้ให้เห็นวิธีที่คนผิวด� ำและสตรีถูกเหมารวม ว่ามีความด้อย หลายคนเชื่อว่าทั้ง ๒ กลุ่มมีสติปัญญาที่ช้า เจ้าอารมณ์ ป่าเถื่อนล้าหลัง (primitive) และ พอใจที่มีบทบาทเป็นผู้ตาม คนผิวด� ำมีความด้อย (inferior) และสตรีมีความอ่อนแอ สมควรแล้วที่คนด� ำ อยู่ในสถานะที่ด้อย และสตรีควรอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน (ไม่ควรออกมาท� ำงานนอกบ้าน) จะสังเกตได้ว่า ความไม่เสมอภาคถูกใช้ให้เป็นเครื่องมือกดขี่ทั้งชนกลุ่มน้อยซึ่งก็คือคนผิวด� ำ และสตรี ความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์แบบผู้กดขี่ (oppressor) และผู้ถูกกดขี่ (oppressed)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=