สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 50 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ประธานาธิบดี สังคมอเมริกันมีกระแสต่อต้านอคติทางสีผิว ท� ำให้บุคคลที่ยังรังเกียจผิวอยู่ไม่ค่อยกล้า แสดงออก แต่ยังมีปฏิกิริยาอัตโนมัติที่แสดงว่าใจเขายังไม่ค่อยยอมรับ ปรากฏการณ์นี้มีข้อดีคือ เมื่อคน ไม่กล้าแสดงอาการรังเกียจผิว ความสัมพันธ์ทางสังคมก็ดีขึ้น อย่างน้อยคนผิวด� ำก็ไม่ถูกรังแก ซึ่งสมัย ก่อนในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ ถึงต้นศตวรรษที่ ๒๐ คนผิวด� ำทางใต้ของสหรัฐอเมริกาถูกแขวนคอมาก ขึ้นเวลาฝ้ายราคาตกต�่ ำมี lynching แม้ทางเหนือ การว่าจ้างก็ยังกีดกันคนผิวสี ปัจจุบันดีขึ้นมากแล้ว คนรังเกียจผิวสมัยใหม่เรียกว่า Aversive racists ซึ่งหมายถึง พวกที่เชื่อในความเสมอภาค แต่ในขณะ เดียวกันก็รู้สึกไม่ดีต่อชนกลุ่มน้อย คนพวกนี้เชื่อในความเสมอภาคของสีผิวและความเสมอภาคของ โอกาส แต่รู้สึกไม่สบายใจเวลาอยู่ใกล้ ๆ ชนกลุ่มน้อย และจะพยายามเลี่ยงการพบเจอและการคบหา เช่น อาจไม่อยากนั่งใกล้ ๆ ไม่สบตา พูดจาไม่เป็นมิตร และคุยด้วยสักครู่เดียวก็เลิก ไม่เหมือนปฏิกิริยาที่มีต่อ คนขาวด้วยกัน อคติบางครั้งก็น� ำไปสู่ พฤติกรรมกีดกัน (discrimination) ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติต่อกลุ่มคน หรือบุคคลแบบไม่เท่าเทียมกัน เช่น จ้างคนขาว แต่ไม่จ้างคนผิวด� ำท� ำงาน บางครั้งการกีดกันอาจเกิดขึ้นได้ แม้ไม่มีอคติ เช่น ในการเกณฑ์ทหาร อาจก� ำหนดว่าต้องมีความสูงไม่ต�่ ำกว่า ๑๗๐ เซนติเมตร คนเตี้ยกว่า ก็ไม่มีโอกาสเป็นทหาร ถูกกีดกันเพราะสูงไม่พอ มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับอคติคือ การเหมารวม (stereotypes) ซึ่งหมายถึง ความเชื่อที่ มีต่อกลุ่มต่าง ๆ ยกตัวอย่าง เราอาจจะเหมารวมว่าคนแก่หรือผู้สูงอายุจะเชื่องช้า งุ่มง่าม หรือเป็นคน ที่มีความฉลาดสุขุม ดังนั้น การเหมารวมอาจเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบก็ได้ และการเหมารวมอาจมีส่วนจริง อยู่บ้าง การเหมารวมสามารถสร้าง self-fulfilling prophecy คือ คนถูกตราหน้าท� ำให้เป็นจริงหรือคน ตราหน้าท� ำให้เป็นจริง เช่น เมื่อมีการเหมารวมว่าผู้สูงอายุเชื่องช้า เสื่อมถอย งุ่มง่าม ในสหรัฐอเมริกา สังคมอเมริกันมีการรังเกียจผู้สูงอายุ (agism หรือ ageism) ท� ำให้ผู้สูงอายุชาวอเมริกันเวลาถูกทดสอบ ความจ� ำสู้ชาวจีนไม่ได้ เพราะผู้สูงอายุชาวจีนได้รับการเหมารวมคิดว่าเป็นผู้ที่ชาญฉลาดน่าเคารพ ท� ำให้ พวกเขาเชื่อมั่นกว่าและท� ำข้อสอบได้ดีกว่า การเหมารวมนั้นเปลี่ยนยาก แม้บ่อยครั้งจะมีการพิสูจน์ว่ามี ข้อผิดพลาด เหตุผลก็คือบุคคลมักจัดข้อยกเว้นให้เป็นกลุ่มเฉพาะ (subtype) (Richards & Hewstone, 2001) เวลาพบกรณีพิเศษ เช่น เมื่อพบผู้ชายอ่อนโยนไม่ก้าวร้าว อาจมีการจัดว่าเขาเป็นคนธรรมะ ธรรมโม (religious) ไม่เหมือนการเหมารวมเกี่ยวกับผู้ชายทั่วไปซึ่งมีลักษณะต้องแมน (macho) ถึงจะเป็น ลูกผู้ชาย การเป็นคนธรรมะธรรมโมจึงเป็น (subtype) ประเภทย่อยของผู้ชาย อคติ (prejudice) การกีดกัน (discriminations) และการเหมารวม (stereotypes) เป็น ABC ของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม ส่วนที่เป็น affective คือ อคติเกี่ยวกับความชอบไม่ชอบ (prejudice) behavior หมายถึง พฤติกรรมกีดกัน (discrimination) และส่วน cognitive คือ การรู้คิด หรือการเหมา รวม (stereotype)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=