สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

49 นพมาศ อุ้งพระ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ผิวขาวและคนผิวด� ำ นักวิชาการชาวอเมริกันมีการศึกษาหัวข้อเรื่องอคติอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมาเป็น เวลาหลายทศวรรษ พวกเขาถูกกระตุ้นโดยความเคลื่อนไหวของนาซีในเยอรมนี และสภาพความสัมพันธ์ ระหว่างคนสีผิวต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา ให้ท� ำการศึกษารายละเอียดของความสัมพันธ์ของคน และบทบาท ของอคติและการกีดกัน (prejudice and discrimination) ในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ทางสีผิวของสหรัฐอเมริกาได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง เกิดขึ้นเมื่อบารัก ฮูสเซน โอบามา (Barack Hussein Obama) ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดี ชาวแอฟริกันอเมริกันหรือชาวผิวสีเป็นคนแรกของประวัติศาสตร์อเมริกัน จะว่าการเลือกตั้งในวันที่ ๔ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๘ เป็นการปฏิวัติก็ได้ การกดขี่และความขมขื่นของชาวผิวด� ำอเมริกันได้รับการเปลี่ยน โฉมหน้าครั้งใหญ่เมื่อนิโกรก็เป็นประธานาธิบดีได้ ที่ส� ำคัญคือ มีคนผิวขาว ร้อยละ ๔๓ ที่โหวตให้โอบามา ซึ่งเป็นจ� ำนวนคนขาวเท่ากับที่เคยโหวตให้คลินตัน คนขาวส่วนใหญ่ที่เลือกโอบามาเป็นพวกเสรีนิยม และ คนอายุน้อยจ� ำนวนมากก็เลือกโอบามา แสดงว่าความสัมพันธ์ทางสีผิวของสังคมอเมริกันได้วิวัฒนาการจาก การกีดกันอย่างมาก มาเป็นการยอมรับความเสมอภาค เป็นชัยชนะทางวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา เมื่อชาวผิวขาวสามารถเอาชนะอคติและไม่กีดกันคนผิวด� ำ ถึงขนาดเลือกให้เป็นประธานาธิบดี ชัยชนะ ครั้งนี้เป็นชัยชนะของอารยธรรมที่สูงส่ง มีความเสมอภาค และเป็นเสรีนิยมอย่างยิ่ง ชาวแอฟริกันอเมริกัน น่าจะมีขวัญและก� ำลังใจต่อสู้อุปสรรค และสร้างความก้าวหน้าของชีวิตได้ดีขึ้น เมื่อมีโอบามาเป็นตัวแบบ ของบทบาท (role model) ที่แสดงให้เห็นว่า ถ้าพยายามและมีความสามารถ สังคมที่เคยมีอคติอย่างสูง แห่งนี้ ปัจจุบันเปิดโอกาสให้แล้ว อย่างไรก็ตาม ชัยชนะของโอบามาก็ยังมิได้เป็นชัยชนะของมนุษยชาติ ตราบเท่าที่โลกยังมี เหตุการณ์เช่นที่เกิดขึ้นในรวันดา คองโก และดาฟูร์ และมีผู้ก่อการร้าย มนุษย์ยังมีผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน มีการขัดแย้งทางเผ่าพันธุ์และศาสนา เรายังมีการรังเกียจซึ่งกันและกันและเอาเปรียบกัน การระเบิด ที่มุมไบของอินเดียเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๘ แสดงว่าผู้ก่อการร้ายจงใจก่อเหตุฆ่าคน เกือบ ๒๐๐ คน เราแบ่งพรรคแบ่งพวกเป็นกลุ่มเขา (outgroup) และกลุ่มตน (ingroup) แล้วก็รังเกียจ และท� ำร้ายกัน นักวิชาการจึงได้ศึกษาประเด็นอคติและการกีดกันและความสัมพันธ์ของมนุษย์ โดยเน้น รายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มโนทัศน์ (concepts) ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหัวข้อนี้ มโนทัศน์ที่เกี่ยวข้องตัวแรกคือ อคติ (prejudice) ซึ่งเป็นเจตคติ คือ ความรู้สึกเชิงลบต่อบุคคล ด้วยเหตุผลเพียงเพราะเขาเป็นสมาชิกของกลุ่ม ๆ หนึ่ง ส่วนการรังเกียจกันทางสีผิว (racism) หมายถึง อคติที่มีต่อชนสีผิวหนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา อคติทางสีผิวได้ลดลงอย่างมาก จนได้เลือกคนผิวด� ำเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=