สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
อคติ การกีดกั น และความสั มพั นธ์ของมนุษย์ 48 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ยากมาก ความส� ำเร็จที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นว่า ถ้าสังคมมีเสาหลักทางปรัชญาและศาสนาที่เน้น ความยุติธรรมและความเสมอภาคของมนุษย์ รวมทั้งมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างสูง และวงการ วิชาการมีนักคิดและผู้น� ำทางปัญญาที่มีใจเป็นธรรม ศึกษาปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ให้ความรู้ความ กระจ่าง เมื่อเสริมด้วยโครงสร้างทางสังคมที่ส่งเสริมการแสดงศักยภาพ มีกระบวนการทางนิติธรรม ที่มีความยุติธรรม มีผู้น� ำทางปัญญาแทรกอยู่ในสถาบันส� ำคัญ ๆ ปัจจัยบวกทั้งหลายเอื้อให้การ เปลี่ยนแปลงปัญหาที่เป็นจุดด่างพร้อยของสหรัฐฯ ที่ดูเหมือนแก้ยากเกิดขึ้นได้จริง จุดแข็งของสังคมที่สามารถเอาชนะจุดอ่อนของระบบ ไม่ว่าจะเป็นสังคมไหนก็ตาม คือ การมีพื้นฐานปรัชญาและโครงสร้างสังคมที่ให้ความเสมอภาค ให้เกียรติมนุษย์ในฐานะผู้มีศักยภาพ สร้างสรรค์ สามารถก� ำหนดชีวิตของตนเอง สังคมดังกล่าวย่อมได้สร้างคุณภาพประชากรที่พร้อม ที่จะปรับตัว เปลี่ยนแปลง แก้ไขสิ่งที่ผิด ซึ่งเป็นปัจจัยส� ำคัญที่ท� ำให้สังคมมีความแตกต่างกันของ ความสามารถในการคงอยู่ ค� ำส� ำคัญ : อคติ, การกีดกัน, อุดมคติ, ความเป็นจริง, ความกล้าหาญ, ความหวัง, การเปลี่ยนแปลง หัวข้อเรื่องอคติและพฤติกรรมที่เกิดจากอคติ เช่น การกีดกัน (discrimination) หรือแม้กระทั่ง การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide) ได้รับความสนใจจากนักวิชาการจ� ำนวนมากมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แล้ว สิ่งที่กระตุ้นให้ตื่นตัวศึกษาบทบาทของอคติ คือ กระบวนการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีเยอรมัน ซึ่ง ฮิตเลอร์อ้างความเหนือกว่า (superiority) ของเผ่าพันธุ์อารยัน (Aryan race) ของพวกตน และโจมตี พวกชาวยิวซึ่งเป็นพวกซีเมติก (Semetic) ว่าเป็นเผ่าพันธุ์ที่ด้อยและชั่วร้าย จึงได้ฆ่าชาวยิวด้วยวิธีโหด เหี้ยม เช่น บ่มในแก๊สพิษ เผา และยิงให้ตาย โดยฆ่าไป ๖ ล้านกว่าคน พฤติกรรมของฮิตเลอร์ท� ำให้ นักวิชาการสนใจเรื่องอคติและพฤติกรรมโหดเหี้ยมอย่างมาก นักวิชาการชาวอเมริกันกลุ่มหนึ่งจึงมุ่งศึกษา อิทธิพลของอคติที่มีต่อพฤติกรรมและความสัมพันธ์ของมนุษย์ และได้ศึกษาอคติในสังคมอเมริกันซึ่งมี การกีดกันและมีอคติทางสีผิวเป็นอย่างมาก สังคมอเมริกันเคยมีทาสและมีประวัติที่คนขาวเคยบอกว่า ชาวผิวด� ำไม่ใช่คน มีการรังเกียจพวกเขาเป็นอย่างมาก แม้หลังเลิกทาสคนแอฟริกันอเมริกันหรือคนผิวด� ำ ก็ยังถูกรังเกียจ ในทางใต้ของอเมริกามีการรังเกียจและกีดกันคนด� ำมากกว่าทางเหนือ เวลานั่งรถไฟ คนด� ำ ต้องนั่งขบวนพิเศษเฉพาะที่เขาจัดให้ เวลานั่งรถเมล์ก็ต้องนั่งท้ายรถ ภัตตาคารคนขาวไม่เสิร์ฟคนด� ำ ห้ามเข้า โรงเรียน มีการแบ่งแยกระหว่างโรงเรียนคนผิวขาวและโรงเรียนคนผิวสี มีการแยกกันอยู่ของคนต่างสีผิว (racial segregation) จนในปี ๑๙๕๔ ศาลสูงอเมริกาต้องออกกฎหมายประกาศว่า การแบ่งแยกทางสีผิวในโรงเรียนเป็น เรื่องผิดกฎหมาย ส่งเสริมการเลิกให้มีการแยกกันอยู่ของคนต่างสีผิวในอเมริกา (desegregation) ทุกวันนี้ คนผิวด� ำก็ยังมีความเสียเปรียบทางสังคม สังคมอเมริกันก็ยังมีความเหลื่อมล�้ ำของรายได้ระหว่างคน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=