สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
43 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ที่มีศรัทธาเป็นพื้นย่อมหนักแน่นมั่นคง ย่อมทนต่อสิ่งเร้าที่ไม่พึงประสงค์ และศรัทธาย่อมหล่อเลี้ยงดวงจิต ให้กล้าหาญต่ออุปสรรคทั้งปวง เฉพาะผู้ที่ด� ำเนินชีวิตไปด้วยปัญญาอย่างเดียวโดยละทิ้งศรัทธาอย่างเด็ดขาด ได้ก็คือ พระอรหันต์ เท่านั้น กระนั้นก็ตาม พระอริยบุคคลชั้นสูงสุดทุกระดับนี้ก็ได้ผ่านการปฏิบัติพัฒนาจิต เริ่มต้นจากศรัทธาความเชื่อแล้ว ต่อมาจึงได้สัมมาทิฏฐิความรู้ชอบและพัฒนาถึงขั้นที่เรียกว่า ญาณทัศนะ คือ บรรลุปัญญา ความรู้เห็นสัจธรรมความเป็นจริง ซึ่งเป็นขั้นที่ปราศจากศรัทธา กลายเป็นวิปัสสนาญาณ ในการวิเคราะห์หมวดธรรมที่เป็นพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก แสดงให้เห็นบทบาทและความ ส� ำคัญของศรัทธาในศาสนาแตกต่างกัน หมวดธรรมเบื้องต้นในการพัฒนาชีวิต แสดงให้เห็นความส� ำคัญ ของศรัทธาและปัญญาว่า เป็นองค์ธรรมมาคู่กัน เป็นปัจจัยสนับสนุนกันให้เกิดความเห็นชอบหรือสัมมา- ทิฏฐิ ซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติในมรรคมีองค์ ๘ ประการ เพื่อเข้าสู่ขบวนการของมรรคผลแล้ว ปัญญา มีบทบาทมากกว่าศรัทธา ยิ่งในการเจริญวิปัสสนาอันเป็นกิจกรรมทางจิตโดยตรงแล้ว ปัญญามีความส� ำคัญ อย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่า หลักธรรมทั้งปวงในพระพุทธศาสนา ซึ่งสรุปลงในไตรสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัญญาเป็นองค์ธรรมสูงสุด อนึ่ง ในพระพุทธศาสนาได้แบ่งพระอริยบุคคลที่ บรรลุสัจธรรมว่ามี ๒ ประเภท คือ พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคที่มีอินทรีย์แรงกล้า “สัทธานุ- สารี” ผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา เมื่อบรรลุผลจะกลายเป็น สัทธาวิมุตติ คือ ผู้พ้นด้วยศรัทธา และท่านเมื่อ บรรลุอรหัตผลก็จะกลายเป็นพระอริยบุคคลผู้พ้นด้วยปัญญา เรียก ปัญญาวิมุตติ กล่าวคือ เป็นการหลุด พ้นที่บรรลุด้วยการก� ำจัดอวิชชาได้ ท� ำให้ส� ำเร็จอรหัตผล และท� ำให้เจโตวิมุตติเป็นเจโตวิมุตติที่ไม่ก� ำเริบ คือ ไม่กลับกลายได้อีกต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=