สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 42 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 เพียงอย่างเดียว) และแบบเทวนิยม ศาสนานั้นเมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐาน อยู่บนความส� ำนึกทางศาสนาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่าง เป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อก� ำหนดนี้ได้ ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความ ต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา ” ในแง่นี้แสดงให้เห็นว่า ศรัทธาในแบบอเทวนิยมสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ ลงความเห็นว่าศาสนาที่ทนต่อการพิสูจน์ในอนาคตจะต้องพูดถึงเรื่องที่ปัญญาเชิงวิทยาศาสตร์ยังน� ำทางไป ไม่ถึง บทสรุป ศรัทธาและปัญญามีบ่อเกิด ลักษณะ บทบาท และความส� ำคัญร่วมกันในการปฏิบัติธรรม แม้ ในศาสนาที่ต่างกัน ในศาสนาเทวนิยมเน้นศรัทธาหรือความเชื่อว่าเป็นองค์แห่งศาสนา แต่ในศาสนา อเทวนิยมอย่างพระพุทธศาสนา แสดงศรัทธาว่าเป็นองค์ธรรมขั้นต้นที่สุดในกระบวนการปฏิบัติธรรมนั้น ก็คือ ศรัทธาต้องมาเกื้อกูลสนับสนุนกับปัญญา ศรัทธาต้องมีปัญญาเป็นเครื่องชี้น� ำสู่ทางบรรลุธรรมชั้นสูง อย่างไรก็ตาม ศรัทธาและปัญญาก็มีความสัมพันธ์กันและแตกต่างกันอย่างส� ำคัญในศาสนาประเภท เทวนิยม ศรัทธามีลักษณะเป็นข้อบังคับเชื่อ (dogma) คือ เป็นความไว้วางใจในสิ่งสูงสุด คือ พระเป็นเจ้า (God) อย่างเด็ดขาด ต้องปฏิบัติตามเทวโองการอย่างภักดี ไม่ต้องพิสูจน์ ความเชื่อมาก่อนเหตุผล นั้นก็ คือ เหตุผลต้องสนับสนุนความเชื่อในศาสนาเทวนิยม เช่น ศาสนายิว คริสต์ อิสลาม และศาสนาพราหมณ์ เน้นความเชื่อหรือศรัทธาว่าเป็นศูนย์รวมแห่งพลังการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงความเป็นเอกภาพกับพระเป็น เจ้า (unification of God) ในโลกสวรรค์ ส่วนในพระพุทธศาสนาในฐานอเทวนิยม (atheism) สอนให้ ความส� ำคัญแก่ศรัทธาว่าเป็นองค์คุณธรรมเบื้องต้นที่สุดในกระบวนการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน โดยเน้น ว่าศรัทธาหมายถึง ความมั่นใจในการกระท� ำของตน ไม่ใช่เรื่องของอารมณ์ (emotion) ด้านเดียว ดังนั้น ศรัทธาที่พึงประสงค์จึงต้องมาคู่กับปัญญาและในการปฏิบัติธรรมขั้นละเอียด ในที่สุดปัญญาจะท� ำหน้าที่ ของตนโดยเฉพาะ คือ การขจัดกิเลส โลภะ โทสะ และโมหะ ศรัทธากับปัญญามาคู่กัน สนับสนุนกัน และในที่สุดปัญญาน� ำทางและเข้าแทนที่ในการปฏิบัติขั้นสูง ศรัทธาอยู่ในการชี้น� ำและควบคุมด้วยปัญญา ย่อมเป็นพลังที่มีค่า ในทางศีลธรรมแสดงออกเป็นฉันทะความ พอใจ อยากพิสูจน์ความจริงของเหตุผลและความดีงามสูง ๆ ขึ้นไป และเป็นบันไดขั้นต้นสู่ความรู้แจ้งเห็น จริงในปรมัตถธรรม การปฏิบัติตนเพื่อบรรลุคุณธรรมความดีในระดับศีลธรรมนั้น ศรัทธาเป็นองค์คุณธรรม ส� ำคัญ เพราะศรัทธาเป็นปัจจัยเกื้อกูลต่อศีลธรรม ท� ำให้บุคคลมีความมั่นคงและมีความเพียรอดทนและ อดกลั้นในการปฏิบัติตนให้ข้ามพ้นอุปสรรค สิ่งยั่วยวน หรือชักจูงให้กระท� ำผิดหรือท� ำความชั่ว เพราะจิต
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=