สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

41 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๔. วิทยาศาสตร์กับศาสนามีจุดก� ำเนิดร่วมกัน กล่าวคือ ศาสนาเป็นจุดก� ำเนิดของการค้นคว้า ทางวิทยาศาสตร์ แล้วต่อมาวิทยาศาสตร์และศาสนาได้แยกกันออกไปท� ำหน้าที่ที่ต่างกัน ไอน์สไตน์กล่าว ว่า “ วิทยาศาสตร์เป็นการคิดอย่างมีระเบียบวิธี ในการค้นหาความสัมพันธ์อย่างมีกฎเกณฑ์ ระหว่าง ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส วิทยาศาสตร์พยายามใช้วิธีคิดอย่างมีระบบ ประมวลปรากฏการณ์เท่าที่ รับรู้ได้ในโลกนี้ให้เข้ามาอยู่ภายในความสัมพันธ์อันทั่วตลอดถึงกันหมดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยมีเป้าหมาย ที่จะวางกฎเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งก� ำหนดความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างวัตถุและเหตุการณ์ทั้งในกาละและเทศะ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า มีจุดมุ่งหมายที่จะค้นพบกฎเกณฑ์ ซึ่งท� ำให้สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ แห่งข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตลอดจนท� ำนายความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้นได้ คือ พยายามประสานสิ่งหลายหลาก ให้โยงเข้าเป็นหน่วยรวมหนึ่งเดียวอย่างเป็นเหตุเป็นผล ส่วนศาสนานั้น ว่าด้วยจุดหมายปลายทาง แห่งความใฝ่ปรารถนาของมนุษย์ การก� ำหนดคุณค่า (แห่งการคิดและการกระท� ำของมนุษย์) พร้อมทั้ง รากฐานทางอารมณ์แห่งความคิดและการกระท� ำของมนุษย์นั้น ในที่นี้มุ่งความปรารถนาที่จะเข้าถึง จุดหมายปลายทางหรือการใฝ่ปรารถนา รู้แจ้งสัจธรรมต่าง ๆ เป็นความรู้สึกทางศาสนาทั้งนั้น ศาสนา ตั้งจุดหมายพร้อมทั้งคุณค่าที่สอดคล้องกับจุดหมายขึ้นมาแล้ว การตั้งจุดหมายพร้อมทั้งคุณค่าที่ สอดคล้องกับจุดหมายนั้นแหละที่ท� ำให้ชีวิตและกิจกรรมของเรามีความหมาย ” ข้อความนี้ชี้ให้เห็นว่า ศรัทธาและปัญญาย่อมมีจุดหมายและคุณค่า โดยเฉพาะในแง่ของศาสตร์ จะมีการค้นคว้าที่มีความหมาย ก็เพราะมีจุดหมายและความใฝ่ปรารถนาที่จะเข้าถึงสัจธรรม ซึ่งท� ำให้การ ค้นหานั้นมีคุณค่ามั่นคงด้วย ดังนั้น ศรัทธากับปัญญาจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก ไอน์สไตน์ กล่าวอีกว่า “ วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้โดยเป็นการสร้างสรรค์ของคนที่เต็มเปี่ยมด้วยความใฝ่ปรารถนา ตั้งสัจธรรมและปัญญา ซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดจากศาสนา ส่วนศาสนานั้นก็ปลดเปลื้องมนุษย์จาก พันธนาการแห่งตัณหา และศาสนาที่แท้ก็ถูกท� ำให้ประเสริฐและลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้น วิทยาศาสตร์ไร้ศาสนาก็เหมือนคนขาเป็นง่อย ส่วนศาสนาที่ไร้วิทยาศาสตร์ก็เหมือนคนตาบอด (Science without religion is lame, Religion without science is blind) ” ไอน์สไตน์ได้ชี้ให้เห็นว่า ความคิดจิตใจที่เป็นแบบวิทยาศาสตร์ และศาสนากับวิทยาศาสตร์ย่อม มีจุดเริ่มต้นรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และยังอาศัยซึ่งกันและกัน ไอน์สไตน์ได้แสดงทัศนะส่วนตัวของเขา ต่อศาสนาว่า ทัศนะในเรื่องศาสนาของเขาสอดคล้องกับพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนามีสภาวะ ที่เรียกว่า ความรู้สึกทางศาสนาอย่างสากล (cosmic religious feeling) อยู่อย่างเข้มแข็งหรือแรงกล้ามาก และความรู้สึกทางศาสนาอย่างสากลนี้ เป็นแรงจูงใจที่แรงกล้าและประเสริฐที่สุดส� ำหรับการค้นคว้าวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ และเขากล่าวไว้อีกตอนหนึ่งว่า “ ศาสนาในอนาคตจะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้น ควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรละเว้นค� ำสอนแบบสิทธันต์ (คือ เป็นแบบส� ำเร็จรูปให้เชื่อตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=