สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 40 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ความสัมพันธ์ระหว่างศรัทธากับปัญญา ศรัทธากับปัญญามีความเกี่ยวข้องกันในฐานะศาสนาและศาสตร์ในลักษณะดังนี้ ๑. ศรัทธาในฐานะเป็นวิถีชีวิตและพลังขับเคลื่อนผู้ปฏิบัติไปสู่การบรรลุสัจธรรม อาจกล่าว ได้ว่า ศรัทธากับปัญญาเป็นพลังด้านในจิตใจของมนุษย์ ซึ่งส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ ของมนุษย์เอง ศาสตร์ทั้ง ๓ นั้นย่อมศึกษาเรื่องเดียวกัน คือเรื่องโลกและชีวิต ในการใช้ศาสตร์นั้น ต้องไม่น� ำอารมณ์ความรู้สึกของตนเข้าไปเกี่ยวข้องแต่ในเบื้องต้น ศรัทธาย่อมสนับสนุนในฐานะฉันทะ ให้ได้ความรู้มาเป็นอุปกรณ์ น� ำไปสู่ความสะดวกและสุขสบายภายนอก ๒. ศรัทธาในฐานะศาสนาย่อมเป็นแกนกลางแห่งคุณค่าของศาสตร์ทั้งปวง นอกจากจะมีหน้าที่ ท� ำให้บุคคลบรรลุอุดมคติชีวิตหรือความจริงสูงสุดในชีวิตของตนแล้ว ยังมีหน้าที่ในการธ� ำรงรักษาคุณค่า ของมนุษย์และความสัมพันธ์ต่อกันของคนในสังคม ที่เรียกว่า “ ความดี ” เพราะศรัทธาในศาสนาเป็น วิถีแห่งความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความดีเป็นคุณภาพแห่งความเป็นคนและแห่งพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เป็นคุณธรรมของมนุษย์ที่จะพึงปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรู้เท่าทัน เพื่อให้ชีวิตทั้ง ๓ ส่วน คือ มนุษย์ สังคม ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ไม่ให้เสียดุลต่อกัน ๓. ในเรื่องนี้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (ค.ศ. ๑๙๗๙-๑๙๕๕) นักวิทยาศาสตร์ที่สนใจในศาสนาเป็นพิเศษ ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับศาสนาในฐานะศรัทธาความเชื่อไว้อย่างน่าสนใจ กล่าวคือ ไอน์สไตน์เน้นถึงหัวใจของนักวิทยาศาสตร์ว่า “ วิทยาศาสตร์จะได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ก็โดยบุคคลที่เปี่ยมด้วยความใคร่ปรารถนาต่อสัจธรรมและปัญญาที่เข้าใจถึงความจริง นักวิทยาศาสตร์ ที่แท้จริงทุกคนมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งว่า กฎเกณฑ์ที่ก� ำกับสากลพิภพนี้เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และสามารถ เข้าใจได้ด้วยเหตุผล ” และในการก้าวเข้าสู่จิตใจของนักวิทยาศาสตร์ ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ บุคคลที่ ก่อให้เกิดผลส� ำเร็จในทางสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ในทางวิทยาศาสตร์ ทุกคนมีความเชื่อมั่นในทางศาสนา อย่างแท้จริงว่า สากลจักรวาลของเรานี้เป็นสิ่งที่มีความสมบูรณ์ และสามารถรับรู้ได้ด้วยการแสวงหา ความรู้อย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นความรู้สึกอันแรงกล้าที่ท� ำให้เกิดความมุ่งมั่น อุทิศตนอย่างไม่ลดละถดถอย และความมุ่งมั่นอุทิศตนนี้อย่างเดียวแท้ ๆ ที่ท� ำให้คนสามารถบรรลุผลส� ำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของเขาได้ ” ๓๐ และย�้ ำอีกว่า ความรู้สึกแห่งเหตุผลอันนี้แหละคือความรู้สึกทางศาสนา และถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางร่วม ระหว่างศาสนากับวิทยาศาสตร์ เพราะถ้าไม่มีจิตใจวิทยาศาสตร์เช่นนี้ ก็ไม่มีความใฝ่ปรารถนาอย่างแท้จริง ที่จะเข้าถึงสัจธรรมหรือปัญญาที่เข้าใจถึงความจริงต่อภาวะของสิ่งแวดล้อม ๓๐ อ้างใน เดือน ค� ำดี. ศาสนาเบื้องต้น. (กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๒), หน้า ๒๙๓-๒๙๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=