สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
39 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ การล� ำดับนี้แสดงให้เห็นว่า ในการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เกิดความกล้าหาญในธรรม ศรัทธาต้องมา ก่อน แต่ต้องควบคู่กับปัญญา ในเบื้องต้น ศรัทธาเกื้อกูลต่อการเพียรพยายามและมีปัญญาเป็นองค์ธรรม ชี้น� ำทาง ๘. ความเจริญที่ตั้งอยู่บนศรัทธาและปัญญา มีองค์ประกอบ ๕ ประการ คือ ๑) ศรัทธา ความมั่นใจในพระรัตนตรัย ๒) ศีล ความประพฤติดีงาม ๓) สุตะ การได้สดับฟังศึกษาหาความรู้ ๔) จาคะ การเผื่อแผ่เสียสละ ๕) ปัญญา ความรอบรู้เข้าใจเหตุผล ๒๘ ธรรมหมวดนี้เรียกอีกอย่างว่า วุฒิ เป็นองค์ธรรมส่งเสริมบุคคลให้พัฒนา ด้วยอาศัยศรัทธา และปัญญา แสดงให้เห็นว่าความเจริญในธรรมและในชีวิตนั้น ปัญญากับศรัทธามีบทบาทส� ำคัญแก่กันคือ มาควบคู่กันเสมอ ๙. ทรัพย์คือคุณธรรมประจ� ำใจอย่างเสริฐโดยมีศรัทธาเป็นฐานและมีปัญญาเป็นเบื้องปลาย (อริยทรัพย์) จ� ำแนกออกได้ ๗ อย่าง คือ ๑) ศรัทธา ความเชื่อมีเหตุผล ๒) ศีล ประพฤติถูกต้องดีงาม ๓) หิริ ความละอายใจต่อการท� ำชั่ว ๔) โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว ๕) พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ๖) จาคะ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ๗) ปัญญา ความรู้ก� ำลังใจในเหตุผลชั่วดีผิดถูก ๒๙ การจ� ำแนกอริยทรัพย์ออกเป็น ๗ ประการนี้ แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของจิตใจ คือ การแปร ทรัพย์หรือโภคสมบัติภายนอกมาเป็นอริยทรัพย์ภายใน เป็นทรัพย์อันประเสริฐในจิตใจ เพื่อประโยชน์ เบื้องหน้า ชาติหน้า แต่ศรัทธาอยู่ภายใต้การควบคุมของปัญญา ดังนั้น ศรัทธาจึงมาควบคู่กับปัญญาเสมอ ๒๘ อง.ปญจก. ๒๒/๖๓-๖๔/๙๑-๙๒. ๒๙ ที.ปา. ๑๑/๓๒๖/๒๖๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=