สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 38 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 องค์ธรรมหมวดนี้แสดงให้เห็นว่าศรัทธาและปัญญามาคู่กันในที่สุดปัญญาท� ำหน้าที่ก� ำกับ ศรัทธาจึงจะบ� ำเพ็ญประโยชน์ได้อย่างถึงพร้อม ครบถ้วน ๕. ปัญญาเป็นหัวหน้า (ธัมมขันธ์) ในหมวดแห่งธรรม จ� ำแนกออกได้ ๕ ประการ คือ ๑) ศีลขันธ์ หมวดศีล ๒) สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ ๓) ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา ๔) วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุตติ ๕) วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมวดธรรมเกี่ยวกับการรู้การเห็นในวิมุตติ ๒๕ การประมวลธรรมหมวดนี้แสดงให้เห็นว่า ปัญญาเป็นประมวลหรือกองแห่งธรรมโดยเฉพาะ ไม่มาคู่กับศรัทธา แสดงล� ำดับการปฏิบัติจากเบื้องต้นไปสู่ชั้นสูงตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งใช้ปัญญาเป็นเครื่องก� ำกับน� ำทางการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ๖. ก� ำลังที่มาคู่กับปัญญาและศรัทธา (พล) จ� ำแนกออกได้ ๕ ประการ คือ ๑) สัทธาพล ก� ำลังแห่งศรัทธา ๒) วิริยะพล ก� ำลังแห่งความเพียร ๓) สติพล ก� ำลังแห่งความระลึกได้ ๔) สมาธิพล ก� ำลังแห่งความตั้งใจมั่น ๕) ปัญญาพล ก� ำลังแห่งปัญญา ๒๖ ในบางที่เรียกว่า อินทรีย์ ๕ องค์ธรรมอันเป็นก� ำลังในการปฏิบัติธรรมนี้ย่อมสนับสนุน การประพฤติธรรมเพื่อบรรลุวิมุตติ แสดงให้รู้เห็นว่าศรัทธาและปัญญาต้องมาควบคู่กัน สุดท้ายปัญญา ท� ำหน้าที่ชี้ขาด ๗. คุณธรรมที่ท� ำให้เกิดความแก่กล้าบนฐานแห่งปัญญาและศรัทธา (เวสารัชขกรณธรรม) จ� ำแนกออกได้ ๕ ประการ คือ ๑) สัทธา ความเชื่อประกอบด้วยเหตุผล ๒) ศีล ความประพฤติดีงาม ๓) พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ๔) วิริยารัมภะ ความปรารภความเพียร ๕) ปัญญา ความรอบรู้ ๒๗ ๒๕ ที.ป. ๑๑/๔๓๐/๓๐๑. ๒๖ ที.ปา. ๑๑/๓๐๐/๒๕๒. ๒๗ อง.ปญจก. ๒๒/๑๐๑/๑๔๔.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=