สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
37 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๑) ปรโตโฆสะ การชักจูงแนะน� ำจากภายนอก คือ กัลยาณมิตร ๒) โยนิโสมนสิการ การท� ำในใจโดยแยบคาย มองสิ่งทั้งหลายด้วยปัญญา ซึ่งเป็นบุพนิมิต แห่งมรรคมีองค์ ๘ ๒๒ ประการ สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ชอบในการปฏิบัติตามมรรคเบื้องต้น เริ่มขึ้นจากปัจจัยหรือข้อมูล ภายนอก คือ กัลยาณมิตร (ปรโตโฆสะ) และปัจจัยภายใน คือ โยนิโสมนสิการ เป็นการใช้ความคิดอย่าง ถูกวิธี แสดงให้เห็นว่าศรัทธาและปัญญาทั้ง ๒ เป็นองค์ธรรมประกอบสัมมาทิฏฐิที่มาคู่กัน ๒. ปัญญาที่ท� ำให้เกิดความหลุดพ้น (วิมุตติ) แบ่งเป็น ๒ ประการ คือ ๑) เจโตวิมุติ ความหลุดพ้นด้วยอ� ำนาจการฝึกจิต ๒) ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอ� ำนาจการเจริญปัญญาโดยตรง แสดงให้เห็นว่าในการพัฒนาตนให้เจริญก้าวหน้าจนหลุดพ้นจากกิเลสและตัณหาทั้งปวง ปัญญามีบทบาทส� ำคัญกว่าศรัทธา เพราะในการเข้าถึงความหลุดพ้นด้วยการเจริญตามมรรคนั้น ศรัทธา เป็นพลังสนับสนุนในเบื้องต้น สุดท้ายปัญญาเป็นเครื่องประหารกิเลสโดยตรง ๓. การพัฒนาที่ใช้ปัญญาก� ำกับ (ภาวนา) แบ่งออกเป็น ๔ ประการ คือ ๑) กายภาวนา การพัฒนากาย คือ พัฒนาสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพหรือรูปธรรมภายนอก ๒) ศีลภาวนา การพัฒนาศีลหรือพฤติกรรม คือ การพัฒนาตนและสังคม ๓) จิตตภาวนา การพัฒนาจิต คือ การพัฒนาอารมณ์และจิตใจให้เป็นสมาธิ ปลอดโปร่ง ๔) ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญา ๒๓ คือ การพัฒนาชีวิตไปสู่ความหลุดพ้นด้วยปัญญา เป็นเครื่องน� ำทาง แสดงให้เห็นว่าในการพัฒนาระดับสูงในที่สุดต้องใช้ปัญญาปราศจากศรัทธา เป็นองค์ธรรม น� ำการพัฒนาชีวิต ไม่ต้องมาคู่กับศรัทธา เพราะปัญญาที่แก่กล้าแล้วท� ำหน้าที่ของตนโดยเฉพาะ ๔. ธรรมเป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า ย่อมมีปัญญาก� ำกับอยู่เสมอ (สัมปรายิกัตถะ) แบ่งออกได้ ๔ ประการตามล� ำดับดังนี้ ๑) สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ๒) สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล ๓) จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการเสียสละ ๔) ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๒๔ ๒๒ ม.มู. ๑๒/๔๙๗/๕๓๙. ๒๓ อง.ปญจก. ๒๒/๗๙๑/๑๒๑. ๒๔ อง.อฏฐก. ๒๓/๑๔๔/๒๙๒.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=