สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 36 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ๔. ภาวนา ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรเจริญ กล่าวคือ การเจริญเป็นกิจในมรรค หมายถึง การท� ำให้มี ให้เป็นขึ้น นั้นก็คือ ท� ำให้เกิดขึ้นและเจริญเพิ่มพูนขึ้น ด้วยการฝึกอบรมตามข้อปฏิบัติ ของมรรคที่น� ำไปสู่การก� ำจัดทุกข์อย่างสิ้นเชิง กิจทั้ง ๔ นี้เป็นหน้าที่ของปัญญาในการก� ำหนด และต้องสัมพันธ์กันกับอริยมรรคทั้ง ๔ ข้อ การท� ำให้ถูกต้องตามหน้าที่ในแต่ละมรรค ต้องอาศัยความรู้หรือกิจญาณ เมื่อญาณสัมพันธ์กับอริยมรรค เข้าสู่ผลตามล� ำดับ จนเชื่อว่าส� ำเร็จกิจโดยสมบูรณ์ ซึ่งเรียกว่า “พรหมจรรย์” หน้าที่ในการบรรลุสัจจะต้อง ใช้ความรู้ (ญาณ) ๓ รอบ จึงจะครบถ้วนตามกระบวนการความรู้ตามแบบอริยสัจ ดังนี้ อริยสัจ ๔ สัจญาณ กิจญาณ กตญาณ ทุกข์ รู้ว่า รู้ว่า รู้ว่า (ปริญเญยยะ) ทุกข์คือความจริง ทุกข์นี้ควรก� ำหนดรู้ ทุกข์นี้ได้ก� ำหนดรู้แล้ว สมุทัย รู้ว่า รู้ว่า รู้ว่า (ปหาตัพพะ) ตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ สมุทัยนี้ควรละ สมุทัยนี้ได้ละแล้ว นิโรธ รู้ว่า รู้ว่า รู้ว่า (สัจฉิกิริยะ) นิพพานเป็นสภาวะดับทุกข์ นิโรธนี้ควรท� ำให้แจ้ง นิโรธนี้ได้ท� ำให้แจ้งแล้ว มรรค รู้ว่า รู้ว่า รู้ว่า (ภาเวตัพพะ) มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางดับทุกข์ มรรคมีองค์ ๘ นี้ ควรปฏิบัติ มรรคมีองค์ ๘ นี้ได้เจริญแล้ว การปริวัฏหรือวนรอบ ๓ นี้ เป็นไปในอริยสัจ ๔ ครบถ้วน จึงเรียกรวมเป็น ๑๒ ญาณทัศนะหรือ อาการ ๑๒ พระพุทธองค์ทรงมีญาณทัศนะตามเป็นจริงในอริยสัจ ๔ ครบ ๓ ปริวัฏ มีอาการ ๑๒ ได้ความ รู้แจ้งครบ ๑๒ รายการแล้ว พระองค์จึงทรงประกาศปฏิญาณว่าทรงเป็นพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าญาณทัศนะมีอาการ ๑๒ นี้ ถือว่าเป็นเกณฑ์ตรวจสอบ ความส� ำเร็จในการปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุความเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่ชั้นโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา การวิเคราะห์บทบาทของศรัทธาและปัญญา ในพระพุทธศาสนา ได้มีการวิเคราะห์จ� ำแนกหลักธรรมออกเป็นหมวดหมู่ แสดงให้เห็นบทบาท และความส� ำคัญของศรัทธาและปัญญาตามล� ำดับ ดังนี้ ๑. ต้นทางหรือบ่อเกิดแห่งปัญญาและความดีงามทั้งปวง (สัมมาทิฏฐิ) มี ๒ อย่าง คือ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=