สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
35 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ “สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้ฟังตามกันมา เพราะการฟังตามกันมานั้นจึงเป็นผู้มีบารมี ขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์เหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้ทรงไตรเพท (อนุสฺสาวิกา) สมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์ เพราะเพียงแต่ความเชื่ออย่างเดียว เปรียบเหมือนพราหมณ์ทั้งหลายผู้เป็นนักตรรรกะเป็นนักอภิปรัชญา (ตกฺกี วีมํสี) สมณพราหมณ์พวกหนึ่งผู้รู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยฟังมาก่อน มีบารมีขั้นสุดท้าย เพราะรู้ยิ่งในปัจจุบันจึงปฏิญญาอาทิพรหมจรรย์...เรา (พระพุทธเจ้า) ก็คนหนึ่ง (สามํเยว ธมฺมํ อภิญฺญาย)” ในเรื่องนี้ พระพุทธศาสนาถือว่าภาวนามยปัญญาเป็นปัญญาสูงสุด เนื่องจากเป็นขบวนการใน ส่วนแห่งความรู้ (วิชชาภาคิยะ) ที่ท� ำให้ตรัสรู้ได้ ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันเป็นไป ในส่วนแห่งวิชชา ๒ อย่างเหล่านี้ คือ สมถะ (ความสงบ) ๑ วิปัสสนา (ความเห็นแจ้ง) ๑ สมถะ อันบุคคล เจริญแล้ว ย่อมท� ำให้จิตได้รับการอบรม จิตได้รับการอบรมแล้ว ย่อมท� ำให้ละราคะ (ความก� ำหนัดยินดี หรือความติดอกติดใจ) ได้ วิปัสสนา อันบุคคลเจริญแล้ว ย่อมท� ำให้ปัญญาได้รับการอบรม ปัญญาได้รับ การอบรมแล้ว ย่อมท� ำให้ละอวิชชา (ความไม่รู้ตามความจริง) ได้” ๒๑ ภาวนามยปัญญาจึงเป็นความรู้ที่ผ่าน การลงมือปฏิบัติ ทดสอบด้วยประสบการณ์ของตนเอง เพื่อแสวงหาความจริงและท� ำให้หลุดพ้นจากความ ทุกข์ด้วยการมองผ่านประสบการณ์ที่รู้แจ้งนั้น หน้าที่ของปัญญา โลกุตรปัญญาหรือโพธิญาณในพระพุทธศาสนาท� ำหน้าที่ต่ออริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง หรือหน้าที่ ต่ออริยสัจข้อนั้น ๆ มี ๔ อย่าง คือ ๑. ปริญญา ทุกขอริยสัจ ควรก� ำหนดรู้ กล่าวคือ การก� ำหนดรู้เป็นกิจในทุกข์ หมายถึง การศึกษา ให้รู้จักเข้าใจสภาวะที่เป็นทุกข์ตรงตามสภาพจริงของทุกข์ ๒. ปหานะ ทุกขสมุทยอริยสัจ ควรละ กล่าวคือ การละเป็นกิจสมุทัย หมายถึง การก� ำจัดเหตุ แห่งทุกข์ หรือท� ำสิ่งที่เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ให้หมดสิ้นไป ๓. สัจฉิกิริยา ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรท� ำให้แจ้ง กล่าวคือ การท� ำให้แจ้งเป็นกิจในนิโรธ หมายถึง การประจักษ์แจ้ง หรือบรรลุถึงภาวะดับทุกข์ ๒๑ อง.ทุ. ๒๐/๗๘.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=