สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 34 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ถาม : ท่านมุสิละ โดยไม่อาศัยศรัทธา ไม่อาศัยความถูกกับใจคิด ไม่อาศัยการเรียนรู้ตามกันมา ไม่อาศัยการคิดตรองตามแนวเหตุผล ไม่อาศัยความเข้ากันได้กับการทดสอบด้วยทฤษฎี ท่านมุสิละมีการรู้ จ� ำเพาะตน (ปัจจัคตญาณ) หรือว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ? ตอบ : ท่านปวิฏฐะ ผมย่อมรู้ ย่อมเห็นข้อที่ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรามรณะนี้ได้ โดยไม่ ต้องอาศัยศรัทธา...ความถูกกับใจคิด...การเรียนรู้ตามกันมา...การคิดตรองตามแนวเหตุผล...ความเข้ากัน ได้กับการทดสอบด้วยทฤษฎีเลยทีเดียว ๑๘ จะเห็นว่าในทางพระพุทธศาสนาได้ให้ความส� ำคัญแก่ปัญญาว่าเป็นองค์ธรรมที่สูงกว่าบุคคล อาศัยศรัทธาอย่างเดียวย่อมได้สุคติคือสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า แต่ผู้ใช้ปัญญาย่อมพ้นจากวัฏสงสารได้ อาจกล่าวได้ว่าศรัทธาเป็นพลังอุปการธรรมแห่งปัญญา เหมือนบุคคลจะข้ามแม่น�้ ำต้องอาศัยเรือช่วยเป็น พาหนะข้ามฟาก แต่เมื่อบุคคลถึงฝั่งแล้วจึงไม่จ� ำเป็นต้องอาศัยเรือหรือแบกเรือไว้บนบ่าต่อไป จากนั้น ก็เป็นหน้าที่ของปัญญาฉะนั้น ปัญญาในพระพุทธศาสนา ปัญญาหรือความรู้แจ้งในสรรพสิ่งเริ่มขึ้นจากสัมมาทิฏฐิไปจนถึงโพธิญาณ คือ ความรู้ตรงตาม ความเป็นจริง เป็นผลการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสรุปลงในอริยสัจ ๔ แบ่งได้ ๒ ระดับ คือ ๑. โลกิยปัญญา (conventional) ปัญญารู้ความจริงระดับสมมติ คือ รู้สิ่งที่ชาวโลกสมมติบัญญัติขึ้น เพื่อใช้เรียกกัน เช่น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสมมติบัญญัติที่ไม่มีความเป็นจริง เนื่องจาก เกิดจากการรวมตัวของขันธ์ ๕ หรือเบญจขันธ์เท่านั้น และสามารถสมมติใช้ได้ต่าง ๆ กันไปในแต่ละประเภท ๒. โลกุตรปัญญา (ultimate) หรือโพธิญาณ เป็นปัญญารู้แจ้งความจริงโดยปรมัตถ์ เป็นการรู้ ทั่วและเข้าใจแจ้งสรรพสิ่งตามเป็นจริงแห่งสภาวะของมันที่อยู่เหนือสมมติสัจ โดยไม่ต้องอาศัยบัญญัติ ทางโลก เป็นการรู้แจ้งจริง ทั้งครอบคลุมและเผยให้เห็นความจริงที่เป็น สมมติและปรมัตถ์ในพระไตรปิฎก ได้แบ่งความรู้ออกเป็น ๓ ประเภทตามบ่อเกิด ๑๙ ของตน คือ ๑) ปัญญาที่เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน หรือได้รับถ่ายทอดสืบต่อ ๆ กันมา เรียก สุตมยปัญญา ๒) ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาใคร่ครวญอย่างมีเหตุมีผล เรียก จินตามยปัญญา ๓) ปัญญาที่ได้จากการฝึกฝนอบรม ลงมือปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์การรู้แจ้งด้วยตนเอง ไม่ได้เกิดจากการฟัง หรือการรับการถ่ายทอด (ศัพทประมาณ) หรือคิดตามหลัก การคาดคะเน (อนุมาน ประมาณ) เรียก ภาวนามยปัญญา ดังพระพุทธพจน์ในสังคารวสูตร ๒๐ ที่ว่า ๑๘ สํ.นิ. ๑๖/๒๖๙-๒๗๕/๑๔๐-๑๔๔. ๑๙ ที.ปา. ๑/๒๒๘/๒๓๑. ๒๐ ม.ม. ๑๓/๔๗๔/๖๐๐.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=