สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

33 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ พระพุทธเจ้า : อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเน่าเปื่อยนี้ เธอเห็นไป จะมีประโยชน์อะไร ดูกรวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมนั่นแหละ วักกลิ จึงจะชื่อว่า เห็นเรา เมื่อเห็นเรา (ก็คือ) เห็นธรรม” ๑๕ แม้กระนั้นศรัทธาก็ยังไม่ท� ำให้บุคคลมั่นคงด้วยตนเองได้ ดังพระพุทธพจน์ว่า “ ดูกร ภัททาลิ เปรียบเหมือนบุรุษมีตาข้างเดียว พวกมิตรสหายญาติสาโลหิตของเขา พึงช่วยกัน รักษาตาข้างเดียวของเขาไว้ ด้วยคิดว่า อย่าให้ตาข้างเดียวของเขานั้นต้องเสียไปเลย ข้อนี้ฉันใด ภิกษุบาง รูปในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เธอประพฤติปฏิบัติเพียงด้วยศรัทธา เพียงด้วยความรัก ในกรณีนั้น ภิกษุทั้งหลายย่อมด� ำริกันว่า ภิกษุรูปนี้ ประพฤติปฏิบัติอยู่เพียงด้วยศรัทธา เพียงด้วยความรัก พวกเราจัก ช่วยกันเร่งรัดเธอย�้ ำแล้วย�้ ำอีกให้กระท� ำการณ์โดยหวังว่า อย่าให้สิ่งที่เป็นเพียงศรัทธาเป็นเพียงความรัก นั้นเสื่อมสูญไปจากเธอเลย นี้แล ภัททาลิ คือเหตุ คือปัจจัยที่ท� ำให้ (ต้อง) คอยช่วยกันเร่งรัดภิกษุบางรูป ในศาสนานี้ ย�้ ำแล้วย�้ ำอีกให้กระท� ำการณ์” ๑๖ ดังนั้น ในทางพระพุทธศาสนา ล� ำพังศรัทธาอย่างเดียว เมื่อไม่ก้าวถึงขั้นปัญญาต่อไปตามล� ำดับ ย่อมมีผลหรืออานิสงส์ในขอบเขตจ� ำกัดเพียงแค่สวรรค์เท่านั้น ไม่สามารถให้บรรลุจุดหมายได้ ดังพระพุทธ- พจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว ซึ่งเป็นของง่าย เปิดเผย ประกาศไว้ชัด ไม่มีเงื่อนง� ำ ใด ๆ อย่างนี้ - ส� ำหรับภิกษุผู้เป็นอรหันตขีณาสพ...ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อจะบัญญัติต่อไป - ภิกษุที่ละสังโยชน์เบื้องต�่ ำทั้งห้าได้แล้ว ย่อมเป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น ฯลฯ - ภิกษุที่ละสังโยชน์สามได้แล้ว มีราคะ โทสะ โมหะเบาบาง ย่อมเป็นสกทาคามี ฯลฯ - ภิกษุที่ละสังโยชน์ได้ ย่อมเป็นโสดาบัน ฯลฯ - ภิกษุที่เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธาสุนารี ย่อมเป็นผู้มีสัมโพธิเป็นที่หมาย - ผู้ที่มีเพียงศรัทธา มีเพียงความรักในเรา ย่อมเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่หมาย” ๑๗ กระบวนการพัฒนาปัญญา ในพระพุทธศาสนาที่ถือเอาประโยชน์จากศรัทธาอย่างถูกต้อง ปัญญา จะเจริญขึ้นโดยล� ำดับ จนถึงขั้นเป็นญาณทัสสนะ คือเป็นการรู้การเห็นตามความเป็นจริง ในขั้นนี้ จะไม่ต้อง ใช้ความเชื่อและความเห็นอีกต่อไป เพราะรู้เห็นประจักษ์ความจริงด้วยประสบการณ์ของตนเอง จึงเป็น ขั้นที่พ้นขอบเขตของศรัทธา ดังพระพุทธพจน์ว่า ๑๕ สํ.ข. ๑๗/๒๑๖/๑๔๖. ๑๖ ม.ม. ๑๓/๑๗๑/๑๗๔. ๑๗ ม.มู. ๑๒/๒๘๘/๒๘๐.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=