สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 32 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 แม้ศรัทธาจะเป็นส่วนประกอบที่มีค่าสูงในการปฏิบัติ แต่ศรัทธาก็มีข้อที่ควรระมัดระวังในการ ด� ำเนินชีวิต ดังพระพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ข้อเสีย ๕ อย่างในความเลื่อมใสบุคคลมีดังนี้คือ ๑. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว... ๒. บุคคลเลื่อมใสยิ่งในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์บังคับให้นั่ง ณ ท้ายสุด สงฆ์เสียแล้ว... ๓. ...บุคคลนั้น ออกเดินทางไปเสียที่อื่น... ๔. ...บุคคลนั้น ลาสิกขาเสีย... ๕. ...บุคคลนั้น ตายเสีย... เขาย่อมไม่คบหาภิกษุอื่น ๆ เมื่อไม่คบหาภิกษุอื่น ๆ ก็ย่อมไม่ได้สดับสัทธรรม เมื่อไม่ได้สดับ สัทธรรม ก็ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม” ๑๓ อนึ่ง เมื่อความเลื่อมใสศรัทธากลายเป็นความรัก ข้อเสียในการที่ความล� ำเอียงจะมาปิดบังการ ใช้ปัญญาก็เกิดขึ้น ดังพระพุทธพจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ ประการนี้ ย่อมเกิดขึ้นได้ คือ ความรักเกิดจากความรัก โทสะเกิดจาก ความรัก ความรักเกิดจากโทสะ โทสะเกิดจากโทสะ โทสะเกิดจากความรักอย่างไร? บุคคลที่ตนปรารถนา รักใคร่ พอใจ ถูกคนอื่นประพฤติต่อด้วย อาการที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจ ดังนี้ เขาย่อมเกิดโทสะในคนเหล่านั้น ฯลฯ” ๑๔ ดังใน กรณีของพระวักกลิ ซึ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์อย่างแรงกล้า อยากจะติดตามพระองค์ไปทุกหน ทุกแห่งเพื่อได้อยู่ใกล้ชิด ได้เห็นพระองค์อยู่เสมอ ระยะสุดท้ายเมื่อพระวักกลิป่วยหนัก อยากเฝ้าพระพุทธเจ้า ส่งคนไปกราบทูล พระองค์ก็เสด็จมา และมีพระด� ำรัสเพื่อให้เกิดอิสรภาพทางปัญญาแก่พระวักกลิ ตอนหนึ่งว่า “พระวักกลิ : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานนักแล้ว ข้าพระองค์ปรารถนาจะไปเฝ้าเพื่อ จะเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ร่างกายของข้าพระองค์ไม่มีก� ำลังเพียงพอที่จะไปเฝ้าเห็นองค์พระผู้มี พระภาคเจ้าได้ ๑๓ อง.ปญจก. ๒๒/๒๕๐/๓๐๐. ๑๔ อง.จตุกฺก. ๒๑/๒๐๐/๒๙๐.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=