สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

31 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ เมื่อใด ท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงละเสีย ฯลฯ เมื่อใดท่านทั้งหลายรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่า นี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านี้ใครยึดถือปฏิบัติถึงที่แล้ว จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้นท่านทั้งหลายพึงถือปฏิบัติบ� ำเพ็ญ (ธรรมเหล่านั้น)” และในเมื่อผู้ฟังยังไม่รู้ไม่ เข้าใจ และยังไม่มีความเชื่อในเรื่องใด ๆ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงชักจูงความเชื่อ เป็นแต่ทรงสอนให้พิจารณา ตัดสินเอาตามเหตุผลที่เขาเห็นได้ด้วย ในกรณีที่ผู้ยังไม่ได้นับถือในลัทธิศาสนาหรือหลักค� ำสอนใด ๆ พระพุทธองค์จะตรัสธรรมเป็น กลาง ๆ เป็นการเสนอแนะความจริงให้คิด ด้วยความปรารถนาดี เพื่อประโยชน์แก่ผู้ฟังเอง โดยมิต้องค� ำนึง ว่าหลักธรรมนั้นเป็นของผู้ใด โดยให้เขาเป็นตัวของเขาเอง ไม่มีการชักจูงให้เชื่อ เลื่อมใสต่อพระองค์หรือ เข้ามาสู่อะไรสักอย่างที่อาจจะเรียกว่าศาสนาของพระองค์ และไม่ทรงอ้างพระองค์หรืออ� ำนาจเหนือ ธรรมชาติพิเศษอันใดเป็นเครื่องยืนยันค� ำสอนของพระองค์ นอกจากเหตุผลและข้อเท็จจริงที่ให้เขาพิจารณา เห็นด้วยปัญญาของเขาเอง กาลามสูตรจึงกลายเป็นเกณฑ์วินิจฉัยความเชื่อในพระพุทธศาสนาว่า ในการ ที่จะเชื่อหรือไว้วางใจในเรื่องอะไรนั้น จ� ำเป็นต้องยกกาลามสูตร ๑๐ ข้อนี้มาเป็นมาตรฐาน เพื่อให้ผู้ฟัง พิจารณาไตร่ตรองให้เห็นจริงด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม การขาดศรัทธา มีความสงสัย แคลงใจ ไม่เชื่อมั่น จึงเป็นอุปสรรคส� ำคัญในการ พัฒนาปัญญาและการก้าวหน้าไปสู่จุดหมาย สิ่งที่ต้องท� ำในกรณีนี้ก็คือ ต้องปลูกศรัทธา และก� ำจัดความ สงสัย แคลงใจ แต่การปลูกศรัทธาในที่นี้มิได้หมายถึงการยอมรับและมอบความไว้วางใจให้โดยไม่เคารพ ในคุณค่าแห่งปัญญาของตน แต่หมายถึงการคิดพิสูจน์ทดสอบด้วยปัญญาของตนให้เห็นเหตุผลชัดเจน จนมั่นใจ หมดความลังเลสงสัย แม้ความเลื่อมใสศรัทธาต่อบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ถ้าใช้ให้ถูกต้อง คือ เป็นอุปกรณ์ ส� ำหรับช่วยให้ก้าวหน้าต่อไป ก็ย่อมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แต่ในเวลาเดียวกันก็มีข้อเสีย เพราะมักจะกลายเป็น ความติดในบุคคล และกลายเป็นอุปสรรคบั่นทอนความก้าวหน้าต่อไป ส่วนข้อดีของศรัทธานั้น พระพุทธ- องค์ตรัสว่า “อริยสาวกผู้ใดเลื่อมใสอย่างยิ่งแน่วแน่ถึงที่สุดในตถาคต อริยสาวกนั้นจะไม่สงสัยหรือแคลงใจใน ตถาคตหรือศาสนา (ค� ำสอน) ของตถาคต แท้จริงส� ำหรับอริยสาวกผู้มีศรัทธา เป็นอันหวังสิ่งนี้ได้คือ เขาจัก เป็นผู้ตั้งหน้าท� ำความเพียร เพื่อก� ำจัดอกุศลธรรมทั้งหลาย (และ) บ� ำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลายให้พร้อมบูรณ์ จักเป็นผู้มีเรี่ยวแรง บากบั่นอย่างมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย” ๑๒ ๑๒ ส.ม. ๑๙/๑๐๑๑/๒๙๗.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=