สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 30 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ในพุทธธรรม มีเหตุผลเป็นฐานรองรับ มีปัญญาคอยควบคุม จึงยากที่จะผิด นอกจากพ้นวิสัยจริง ๆ และ ก็สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ไม่ดิ่งไปในทางที่ผิด เพราะคอยรับรู้เหตุผลค้นคว้าและทดลองอยู่ตลอดเวลา การขาดศรัทธาเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง ซึ่งท� ำให้ชะงัก ไม่ก้าวหน้าต่อไปในทิศทางที่ต้องการ ๙ ดังพระพุทธ- พจน์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งยังสลัดทิ้งตอในใจ ๕ อย่างไม่ได้ ยังถอนสิ่งผูกรัดใจ ๕ อย่าง ไม่ได้ ข้อที่ว่าภิกษุนั้นจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จิตของภิกษุผู้ยังสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจ ไม่เลื่อมใสแนบสนิทในพระศาสดา...ในธรรม... ในสงฆ์...ในสิกขา...โกรธเคือง ฯลฯ ในเพื่อนพรหมจรรย์ ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เพื่อความหมั่นฝึกฝน อบรมเพื่อความพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อการลงมือท� ำความพยายาม ภิกษุผู้มีจิตที่ยังไม่น้อมไปเพื่อความ เพียร...ชื่อว่ามีตอในใจซึ่งยังสลัดทิ้งไม่ได้...” ๑๐ ดังนี้ ในพระไตรปิฎกมีหลายแห่งที่แสดงลักษณะของศรัทธาและปัญญาอย่างละเอียด และพระพุทธเจ้า ได้ตรัสให้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบและให้ใช้ปัญญาก� ำกับความเชื่อเสมอ เพราะความเชื่อและปัญญามี ความสัมพันธ์ในทางปฏิบัติ ดังนั้น การแสวงหาโมกขธรรมจ� ำเป็นต้องใช้ศรัทธาและเหตุผลการไตร่ตรอง อย่างมีสติและสัมปชัญญะ โดยเฉพาะในการที่จะปลงใจเชื่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนชาว กาลามะ ๑๑ ว่า “ดูกร กาลามชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย - อย่าปลงใจเชื่อโดยการฟัง (เรียน) ตามกันมา (อนุสสวะ) - อย่าปลงใจเชื่อโดยการถือสืบ ๆ กันมา (ปรัมปรา) - อย่าปลงใจเชื่อโดยการเล่าลือ (อิติกิรา) - อย่าปลงใจเชื่อโดยการอ้างต� ำรา (ปิฎกสัมปทาน) - อย่าปลงใจเชื่อโดยตรรก (ตักกะ) - อย่าปลงใจเชื่อโดยการอนุมาน (นยะ) - อย่าปลงใจเชื่อโดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (อาการปริวิตักกะ) - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน (ทิฏฐินิชฌานักขันติ) - อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ (ภัพพรูปตา) - อย่าปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (สมโณ โน ครูติ) ๙ พุทธธรรม, หน้า ๖๕๖-๖๕๗. ๑๐ ที.ป. ๑๑/๒๙๖/๒๕๐. ๑๑ อง.ติก. ๒๐/๕๐๕/๒๔๑
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=