สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
29 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ๒) วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรมว่ามีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ท� ำแล้วมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว ๓) กัมมัสสกตสัทธา เชื่อว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน กล่าวคือ แต่ละคนเป็นเจ้าของกรรม จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก (ผล) เป็นไปตามกรรมของตน ๔) ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อนึ่ง ในพระพุทธศาสนาให้ความหมายในศรัทธาว่า แม้ปัญญาจะมีความส� ำคัญต่อการบรรลุ สัจธรรมก็ตาม แต่ปัญญาในระดับที่ยังเป็นความเชื่อและเหตุผลทางพุทธิ ก็ยังเป็นความรู้ความเห็นที่ บกพร่อง มีทางผิดพลาดได้ ยังไม่ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงสัจธรรม ดังพระพุทธพจน์ว่า “แน่ะท่านภารทวาชะ ธรรม ๕ ประการนี้ มีวิบาก ๒ ส่วนในปัจจุบันทีเดียว คือ ๑. ศรัทธา - ความเชื่อ ๒. รุจิ - ความถูกใจ ๓. อนุสสวะ - การฟัง (หรือ เรียน) ตามกันมา ๔. อาการปริวิตักกะ - การคิดตรองตามแนวเหตุผล ๕. ทิฏฐินิชฌานักขันติ - ความเข้ากันได้กับ (การเพ่ง พินิจด้วย) ทฤษฎีของตน ก็สิ่งที่เชื่อสนิททีเดียว กลับเป็นของเปล่า เป็นของเท็จไปก็มี ถึงแม้สิ่งที่ไม่เชื่อเลยทีเดียว แต่กลับ เป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอื่นเลยก็มี ถึงสิ่งที่ถูกกับใจชอบทีเดียว กลับเป็นของเปล่า เป็นของเท็จไปเสียก็มี ถึงแม้สิ่งที่มิได้เห็นชอบ ถูกใจเลย แต่กลับเป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอื่นเลยก็มี ถึงสิ่งที่เรียนต่อกันมาอย่างดีทีเดียว กลับเป็นของเปล่า เป็นของเท็จไปก็มี ถึงแม้สิ่งที่มิได้เรียน ตามกันมาเลย แต่กลับเป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอื่นไปเลยก็มี ถึงสิ่งที่คิดตรองอย่างดีแล้วทีเดียว กลับเป็นของเปล่า เป็นของเท็จไปก็มี ถึงแม้สิ่งที่มิได้เป็นอย่าง ที่คิดตรงเห็นไว้เลย แต่กลับเป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอื่นไปเลยก็มี ถึงสิ่งที่เพ่งพินิจไว้เป็นอย่างดี (ว่าถูกต้องตรงตามทฤษฎีหลักการของตน) กลับเป็นของเปล่า เป็น ของเท็จไปก็มี ถึงแม้สิ่งที่ไม่เป็นอย่างที่เพ่งพินิจเห็นไว้เลย แต่กลับเป็นของจริงแท้ ไม่เป็นอื่นไปเลยก็มี” ๘ อนึ่ง ศรัทธาเป็นธรรมขั้นต้นที่ส� ำคัญยิ่ง เป็นอุปกรณ์ชักน� ำการปฏิบัติให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เมื่อใช้ ถูกต้องจึงเป็นการเริ่มต้นที่ดี ท� ำให้การปฏิบัติก้าวไปสู่จุดหมายได้ผลรวดเร็วขึ้น การปฏิบัติด้วยเหตุนี้จึง ปรากฏว่าบางคราวผู้มีปัญญามากกว่าแต่ขาดความเชื่อมั่น กลับประสบความส� ำเร็จช้ากว่าผู้มีปัญญาด้อย กว่าแต่มีศรัทธาแรงกล้า ในกรณีที่ศรัทธานั้นไปตรงกับสิ่งที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นการทุ่นแรงทุ่นเวลาไปในตัว ตรงกันข้าม ถ้าศรัทธาเกิดในสิ่งที่ผิดก็เป็นการท� ำให้เขว ยิ่งหลงชักช้าหนักขึ้นไปอีก อย่างไรก็ดี ศรัทธา ๘ ม.ม. ๑๓/๖๕๕/๖๐๑.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=