สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 28 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ศรัทธา : ศาสนาอิสลาม ในศาสนาอิสลามมีลักษณะส� ำคัญ ๕ ประการ ๗ ดังนี้ ๑. การปฏิญาณตน คือ การปฏิบัติด้วยความเชื่อและเป็นสักขีพยานในความเป็นเอกภาพ ของพระเป็นเจ้ากับศาสนทูตนะบีมุฮัมมัด เพื่อยืนยันความเชื่อถือในเอกภาพของอัลลอฮ์และเป็นการให้ ค� ำมั่นสัญญาว่าตนจะเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์พระองค์เดียว ไม่น� ำสิ่งใดมาเป็นภาคีกับพระองค์ และ ให้ค� ำมั่นว่าท่านศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของพระองค์ ทั้งเป็นการสัญญาโดยปริยายว่าจะปฏิบัติตาม ค� ำสอนของอัลลอฮ์และศาสนา ทูตของพระองค์ด้วย ๒. ท� ำนมัสการวันละ ๕ ครั้ง (ละหมาด) การท� ำมนัสการวันละ ๕ ครั้ง ในวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง นั้น เป็นการยืนยันว่าบุคคลนั้นต้องอยู่ในหลักศรัทธาเป็นกิจวัตร ที่ต้องกระท� ำตอนเช้าตรู่ก่อนดวงอาทิตย์ ขึ้น เวลาบ่าย เวลาเย็น เวลาพลบค�่ ำ และเวลากลางคืน ๓. การถือศีลอด การถือศีลอดเป็นหลักมูลฐานของอิสลามข้อหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติ มีก� ำหนดขึ้นในทุก ๆ ปี ปีละ ๑ เดือน คือ ท� ำในเดือนเราะมะฎอน ๔. การบริจาคทรัพย์เป็นทาน (ซะกาต) ในอิสลามมีข้อบัญญัติว่าด้วยเรื่องบริจาคอันเป็นส่วน แห่งการประกันสังคมไว้ด้วย และเรื่องนี้เป็นหลักมูลฐานของอิสลามข้อหนึ่งใน ๕ ข้อ ซึ่งมุสลิมผู้มีฐานะ พึงกระท� ำได้ ต้องท� ำการบริจาคทรัพย์เป็นทาน ตามหลักการศาสนาแบ่งเป็น ๒ ประเภท โดยเฉพาะทาน ในเกณฑ์บังคับ คือ บัญญัติส� ำหรับผู้มีฐานะดี โดยต้องปันส่วนแห่งทรัพย์สินอันตนมีอยู่ ๕. การประกอบพิธีฮัจญ์ คือ การเดินทางไปกระท� ำพิธีตามศาสนบัญญัติ ณ นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย เพื่อไปพบพี่น้องร่วมศาสนาที่มาจากส่วนต่าง ๆ ของโลก ไปอยู่ร่วมกัน มีการกระท� ำ เหมือน ๆ กันในสถานที่เดียว โดยมีจุดมุ่งสู่พระเป็นเจ้าองค์เดียวกัน แม้จะแตกต่างกันในด้านภาษา วัฒนธรรม เชื้อชาติ ฐานะ ประเพณี แต่เขามิได้แตกต่างกันในฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ และเป็นพี่น้องร่วมศาสนา ทั้ง ๔ ศาสนานี้เชื่อว่า ศรัทธาต้องมาก่อนปัญญา เพราะศรัทธาเป็นที่ตั้งขึ้นของศาสนา ปัญญา ต้องไม่ขัดแย้งกับความเชื่อ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเริ่มขึ้นจากลักษณะที่เป็นความเลื่อมใสและเชื่อมั่นในเรื่องทั้ง ๔ ประการ โดยถือว่าตถาคตโพธิสัทธาเป็นแกนกลางดังนี้ ๑) กัมมสัทธา เชื่อกฎแห่งกรรมว่ามีอยู่จริง คือ เชื่อว่าท� ำดีได้ดี ท� ำชั่วได้ชั่ว ท� ำอย่างไร ได้อย่างนั้น ใครท� ำใครได้ ๗ ดูประกอบใน อัลกุรอาน ฉบับแปลภาษาไทย ภาค ๑-๒ โดย มัฆวาน สะมะอุน, ๒๕๒๔.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=