สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

25 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ การนับถือบูชาบรรพบุรุษซึ่งส่วนมากเป็นบิดามารดาหรือปู่ย่าตายายที่ตายไปแล้ว ที่มนุษย์โบราณ เข้าใจว่าผีบรรพบุรุษเหล่านั้นจะคงเป็นผู้ปกครอง คอยดูแลทุกข์สุขของบรรดาลูกหลานญาติพี่น้อง อยู่เสมอ การที่มนุษย์โบราณบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษอาจบูชาเพราะความเกรงกลัววิญญาณหรือผีนั้น ๆ จะมาท� ำร้ายตนและลูกหลานผู้ประพฤติชั่ว หรือให้คุณแก่ผู้เคารพบูชาเพราะความกตัญญูรู้คุณบรรพบุรุษ พัฒนาการขึ้นที่ ๔ คือ การนับถือเทพเจ้าหลายองค์ (polytheism) สืบเนื่องมาจากการสร้างภาพ เทพเจ้าขึ้นมาตามมโนคติของตน สุดแล้วแต่ธรรมชาติ อย่างไหนควรมีรูปร่างเป็นอย่างไร มีอ� ำนาจมากน้อย กว่ากันเพียงไร เช่น ในอินเดียโบราณ การนับถือเทพเจ้าก็แบ่งออกเป็นกลุ่มเป็นพวกตามชั้นวรรณะของตน วรรณะหนึ่งต้องนับถือพระเป็นเจ้าองค์หนึ่ง จะปะปนกับพระเป็นเจ้าของวรรณะอื่นไม่ได้ ขั้นที่ ๕ เป็นการนับถือพระเป็นเจ้าองค์เดียว (monotheism) เมื่อมนุษย์รวมกันเป็นกลุ่มเป็น พวกก็ย่อมมีหัวหน้า การที่หัวหน้าจะรวบรวมคนให้เป็นปึกแผ่นได้ก็จะประกาศสั่งสอนคนของตนให้เชื่อว่า ในโลกนี้มีเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว จะบันดาลสิ่งใดให้เป็นไปตามพระประสงค์ได้ ซึ่งปัจจุบันก็คือศาสนา ประเภทเอกเทวนิยม มีศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ศาสนายิว ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ๓ เป็นต้น ศรัทธา : ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ๔ มีลักษณะความเชื่อที่ส� ำคัญ ดังนี้ ๑. เชื่อว่าพรหมัน (พระพรหม) เป็นสัจธรรมสูงสุด ไม่มีรูป แต่เมื่อจะสร้างโลกก็ส� ำแดงเป็น ๓ รูป ที่เรียกว่า ตรีมูรติ คือ พระพรหม (พรหม) ผู้สร้าง พระวิษณุ (นารายณ์) ผู้รักษา และพระศิวะ (อิศวร) ผู้ท� ำลาย มีกฎธรรมชาติ เรียกว่า ฤตะ (Rta) ท� ำหน้าที่ควบคุมความเป็นระเบียบของโลก ท� ำให้ ปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ มีขึ้น และเสื่อมสลายไปอย่างมีระเบียบ ท� ำให้มนุษย์ สัตว์ และพืช อุบัติขึ้น และดับไปในลักษณะเป็นระเบียบ มีเหตุผล และรักษาดุลยภาพของโลกไว้ แต่กฎนี้เป็นเพียงกฎธรรมชาติ ไม่มีพุทธิปัญญาที่ประกอบด้วยเหตุผลรู้กฎเกณฑ์ธรรมชาติ จึงต้องมีเทพสูงสุดเป็นผู้บันดาลและควบคุมอยู่ ๒. เชื่อว่าคัมภีร์พระเวท เป็นแหล่งความรู้ที่ถูกต้อง เที่ยงแท้แน่นอน ไม่แปรผันเป็นอื่นไม่ว่า ในกาลเทศะใด ๆ เพราะพระเวทคือสัจธรรมที่เปิดเผยตนเองให้ปรากฏแก่ฤษีผู้มีฌาน และท่านก็น� ำออก เปิดเผยแก่ผู้อื่นตามที่ได้เห็นได้รู้โดยไม่ได้ตกแต่งต่อเติมใด ๆ ทั้งสิ้น คัมภีร์พระเวทจึงเป็นศรุติ คือ ที่ฤษีได้ สดับมาเองด้วยสยัมภูมิปัญญา (ปัญญาที่รู้แจ้ง) และเป็นอเปารุเษยะ คือ ไม่ใช่ผลงานของมนุษย์และของ เทพ และเชื่อว่าเป็นอมตธรรม นิตยธรรม และเป็นปราณหรือลมหายใจของพระพรหม อยู่เหนือปัญญา ชั้นเหตุผลของมนุษย์ ๓ อ้างใน เดือน ค� ำดี. ศาสนศาสตร์. หน้า ๒๕-๒๖. ๔ กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ, ศาสนาสากล, (พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา, ๒๕๒๓) หน้า ๑๙.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=