สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 22 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลกระทบของศาสตร์ทั้ง ๓ กลุ่ม รวมลงที่ตัวมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เพราะมนุษย์มีเจตนาเป็นผู้ใช้ความรู้เหล่านั้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ศาสตร์เป็นความรู้ที่อยู่นอกความเชื่อหรือศรัทธา กล่าวคือ วัตถุแห่งการ ศึกษาและวิธีการศึกษาเป็นเรื่องแยกออกจากความรู้สึก ค่านิยมหรือรสนิยมของผู้ศึกษาเอง ต้องใช้เหตุผล เป็นอุปกรณ์ ด้วยจุดมุ่งหมายของศาสตร์อันสูงสุดก็คือการหลุดพ้นจากอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัว (bias) วางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าไปผูกพันกับสิ่งที่เราจะศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับมัน ดังนั้น ในการหาความจริง ผู้ศึกษาจะต้องอยู่รอบนอก จะเข้าไปผูกพันหรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ศึกษาไม่ได้ แต่ในทางศาสนาที่ใช้ศรัทธาเป็นที่ตั้งตรงกันข้าม คือ ไม่แยกผู้ศึกษาหรือผู้ปฏิบัติออกจากสิ่ง ที่ถูกศึกษา เพราะต้องการ “ รู้จัก ” หรือเป็นอันเดียวกับสิ่งที่ศึกษานั้น ที่เรียกว่า “เข้าถึง” บ้าง “ บรรลุ ” บ้าง ก็คือความเข้าไปเป็นเอกภาพกับสัจธรรม กล่าวคือผู้ปฏิบัติได้ยึดเอา “สัจธรรม” ของศาสนาที่ตนนับถือ ปฏิบัติอยู่นั้นไว้เป็นส่วนหนึ่งของตน เท่า ๆ กับที่ตัวของเขาเป็นส่วนหนึ่งของ “ความจริง” นั้น องค์ประกอบของศรัทธา ศรัทธาหรือความเชื่อมีองค์ประกอบที่ส� ำคัญที่อาจจ� ำแนกได้ ๖ ประการ คือ ๑. อ� ำนาจเหนือธรรมชาติ (supernatural power) คือ อ� ำนาจที่อยู่นอกเหนือมนุษย์ปรกติ สามัญ ที่ให้คุณหรือโทษแก่ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้ อ� ำนาจเช่นนี้อาจมีอยู่ในสรรพสิ่งทั้งหลายที่มี อยู่เอง เป็นอยู่เองในธรรมชาติรอบตัว ทั้งที่เป็นวัตถุไร้ชีวิต เช่น ดิน หิน ไม้ น�้ ำ แร่ธาตุ และที่เป็นพืช หรือสัตว์มีชีวิต ซึ่งแสดงสรรพคุณเป็นอิทธิฤทธิ์พิเศษเกินลักษณะปรกติธรรมดา เช่น สัตว์ที่เป็นมงคลแก่ ผู้เลี้ยง หรือน� ำเคราะห์กรรมมาให้โทษแก่ผู้ที่ประสบ อ� ำนาจนี้อาจไม่อยู่ในวัตถุ พืช สัตว์ หรือธรรมชาติเลย ก็ได้ มีภาวะของตนเองต่างหาก ที่ไม่เป็นรูปร่างตัวตนถาวร เช่น วิญญาณของคนที่ตายแล้ว ภูต ผี เปรต อสุรกาย เจ้าป่า เจ้าเขา เจ้าพ่อ เจ้าแม่ เทพารักษ์ เทพเจ้า เทวดา อินทร์ พรหม จนถึงที่เป็นอ� ำนาจสูงสุด คือพระเป็นเจ้า (god) ๒. สื่อกลาง (mediator) คือ บุคคล ผู้รู้ที่บอกเล่าอธิบายเกี่ยวกับอ� ำนาจที่ลึกลับและศักดิ์สิทธิ์ นั้น ๆ ไม่ว่าจะมีอยู่หรือปรากฏในรูปลักษณะใด สามารถสื่อสารติดต่อกับอ� ำนาจนั้น ๆ ได้ มีวิธีปฏิบัติให้ อ� ำนาจนั้น ๆ มาอ� ำนวยประโยชน์หรือมาท� ำโทษมนุษย์ได้ ๓. พิธีกรรม (ritual) คือ การบวงสรวงบูชาต่ออ� ำนาจต่าง ๆ นั้น อันเป็นรูปของการปฏิบัติ ที่ถูกต้องส� ำหรับแต่ละอ� ำนาจนั้น ๆ ตามที่บุคคลผู้รู้ได้บอกเล่าอธิบายไว้ให้ผู้ร่วมความเชื่อได้แสดงความ เชื่อร่วมกัน ให้เกิดผลตามที่ต้องการจากอ� ำนาจนั้น พิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อกระท� ำได้ในรูปแบบ ต่าง ๆ กัน ทั้งโดยล� ำพังตนเองหรือร่วมกันเป็นหมู่คณะ ท� ำได้ในทุกเวลาและสถานที่ หรือเฉพาะบางโอกาส บางที่เท่านั้น ตามที่ผู้รู้เจ้าพิธีก� ำหนดไว้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=