สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
21 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ความรู้ที่จัดว่าเป็นศาสตร์นั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ คือ ๑. ศัพท์เฉพาะศาสตร์ (terminologies) นั่นก็คือศาสตร์ทุกศาสตร์จะต้องมีศัพท์เฉพาะ ของตนเอง เช่น เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์ รัฐศาสตร์ ๒. โครงสร้างของเนื้อหาสาระ (structure of discipline) เช่น วิทยาศาสตร์ แบ่งออกเป็น วิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพแบ่งย่อยออกเป็นเคมี ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ เป็นต้น และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ แบ่งออกเป็นชีววิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เป็นต้น และโครงสร้างของเนื้อหาสาระของแต่ละสาขาย่อมไม่ซ�้ ำซ้อนกัน ๓. ระเบียบวิธีการค้นคว้าวิจัย (research methodology) ศาสตร์ทุกศาสตร์จะต้องมี วิธีการค้นหาความรู้เป็นของตนเอง วิทยาศาสตร์ใช้วิธีการสังเกต (observation) และการทดลอง (Experimentation) สังคมศาสตร์ใช้วิธีการสังเกต วิเคราะห์พฤติกรรม และการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มเป็นก้อน และมนุษยศาสตร์ใช้วิธีการตีความ การวินิจฉัยประสบการณ์เพื่อหา ความหมายและคุณค่าของพฤติกรรมและงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างศาสตร์ทั้ง ๓ กลุ่ม มีดังนี้ กลุ่มวิชา ข้อมูลศึกษา วิธีการศึกษา ผลงานที่ได้ ผลกระทบที่ตามมา มนุษยศาสตร์ (humanities) สังคมศาสตร์ (social sciences) วิทยาศาสตร์ (natural sciences) ความคิด พฤติกรรม งานสร้างสรรค์ของ มนุษย์ และมนุษย์ ด้วย พฤติกรรม สถาบันทางสังคม มีครอบครัว เป็นต้น ปรากฏการณ์ ทางธรรมชาติ การตีความและการ ประเมินค่าการ เปรียบเทียบ การวินิจฉัย ประสบการณ์ ของมนุษย์ การสังเกต การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ การสังเกต การทดลอง ความหมาย คุณค่า ประโยชน์ อุดมคติ อิสรภาพ กฎเกณฑ์ ทฤษฎี ระเบียบวิธี และหลักการ กฎเกณฑ์ ทฤษฎี ระเบียบวิธีการและ หลักการ การเปลี่ยนแปลง ของคุณค่า แห่งความเป็นมนุษย์ การเปลี่ยนแปลง ด้านสังคม และวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศ และ ทางเทคโนโลยี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=