สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 20 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ในทางจิตวิญญาณ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้ทั้งเหตุผล อารมณ์ และศรัทธา ซึ่งแสดงออกเป็น ฉันทะ (inspiration) (spirituality) และข้อเชื่อ เป็นการศึกษาศาสนาตรงตามธรรมชาติ และหลักค� ำสอน ในศาสนาตามความหมายที่ว่า “ ศาสนาคือตัวการปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ หรือสิ่งที่สัตว์โลก ทั้งหลายไม่พึงปรารถนา ” นั้น การเริ่มขึ้นด้วยศรัทธา (faith) และการปฏิบัติ (practice) ตามค� ำสั่งสอน ของศาสนานั้น ๆ เพราะทุกศาสนาจะมีหลักค� ำสอนและองค์ประกอบที่มีการปฏิบัติเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยง ทั้งหลักธรรมค� ำสอน พิธีกรรม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และพระศาสดา การปฏิบัติ คือ การส� ำรวมกาย วาจา ใจ ให้เป็นการรองรับเอาหลักธรรมนั้นเข้ามาสู่ชีวิตของตน จิตวิญญาณของผู้ปฏิบัติย่อมสัมพันธ์กับรสของ พระธรรม อันเกิดจากการปฏิบัติโดยตรงตามค� ำสั่งสอนขึ้นในจิตใจของผู้ปฏิบัติ สามารถเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมและชีวิตของผู้ปฏิบัติได้อย่างที่เรียกว่า “ การบรรลุสัจธรรม ” หรือ “ การเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้า ” เป็นต้น ส่วน ปัญญาในฐานะศาสตร์ นั้น คือ ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาโลกและชีวิตอย่างเป็นระบบและ ขั้นตอน กล่าวคือ ความรู้ที่เป็นศาสตร์ได้มาจากการน� ำความรู้เฉพาะเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านการสังเกตจดจ� ำ สั่งสม มาจัดสานเข้าด้วยกันอย่างเชื่อมโยงสอดคล้องกันเป็นระบบเครือข่ายเดียวกัน ไม่ขัดแย้งกัน และ ยกระดับความรู้เหล่านั้นให้มีลักษณะเป็น “หลัก” ขึ้นมา เรียกว่า ทฤษฎี หรือ หลักการทั่วไป และเป็นความรู้ ที่เป็นระบบ ระเบียบ (systematic) มีเหตุผล (rational) และมีวิธีการ (methodical) ที่แน่นอน บางครั้งเราใช้ค� ำว่า “วิชา” บ้าง “วิทยา” บ้าง แทนค� ำว่า “ศาสตร์” บางครั้งก็ใช้ค� ำว่า “หลักวิชา” แทน ในการจ� ำแนกศาสตร์ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้แบ่งศาสตร์ ออกเป็นกลุ่มวิชาใหม่ ๆ ได้ ๓ ประเภท คือ ๑) วิทยาศาสตร์ (sciences) ๒) สังคมศาสตร์ (social sciences) และ ๓) มนุษยศาสตร์ (humanities) ศาสตร์ทั้ง ๓ กลุ่ม มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ ๑. มนุษยศาสตร์ ท� ำหน้าที่ศึกษาเรื่องความจริงภายในของมนุษย์ด้วยวิธีการตีความให้ความรู้ แบบ “รู้จัก” บนตัวแปรอิสระมีลักษณะเป็นอัตนัยมากที่สุด และมีขอบเขตกว้าง ๒. สังคมศาสตร์ ท� ำหน้าที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมด้วยวิธีการสังเกตและวิเคราะห์ ได้ความรู้แบบ “รู้เกี่ยวกับ” ให้ความมั่นใจในระดับ “น่าจะเป็น” (probability) บนเงื่อนไขพฤติกรรม ทางสังคม ๓. วิทยาศาสตร์ ท� ำหน้าที่ศึกษาข้อเท็จจริงภายนอกด้านกายภาพเพื่อหากฎสากลด้วยวิธีการ สังเกตและทดลอง ได้ความรู้แบบ “รู้เกี่ยวกับ” และให้ความมั่นใจในระดับ “น่าจะเป็น” (probability) บนเงื่อนไขปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=