สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
19 เดื อน ค� ำดี วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ นั้นผิด ต้องช� ำระล้างหรือกลับใจไปหาเจตนารมณ์ของพระเป็นเจ้า ดังนั้น จึงมีภาษิตส� ำหรับการศึกษาว่า “การกลัวต่อพระเป็นเจ้าเป็นการเริ่มต้นขึ้นของปัญญา” ส่วนในศาสนาอเทวนิยมอย่างพระพุทธศาสนา อธิบายว่า ปัญญาเป็นองค์คุณธรรมที่ส� ำคัญ ที่ในเบื้องต้นต้องมาคู่กับศรัทธา ศรัทธาเป็นพลังเกื้อกูลและสนับสนุน แต่ในท้ายสุดคือ การบรรลุอรหัตผล ปัญญาท� ำหน้าที่โดยตรงขจัดอวิชชาลงได้อย่างสิ้นเชิง ปัญญามีบทบาทเชื่อมโยงระหว่างผู้ปฎิบัติกับสัจธรรม กลายเป็นเอกภาพ เหมือนสุขภาพดีกับความสุข ปัญหาจึงมีว่าศรัทธาและปัญญาที่มีธรรมชาติ บทบาท และหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร และกลายเป็นพลังขับเคลื่อนมนุษย์ไปสู่จุดหมายสูงสุดแห่งชีวิตได้อย่างไร ลักษณะของศรัทธาและปัญญา ศรัทธา (faith) มีธรรมชาติเป็นความเชื่อถือหรือความเลื่อมใส ๑ เป็นพลังสัญชาตญาณของ ชีวิต ซึ่งแสดงออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ การปักใจเชื่อในสิ่งใดหรือในเรื่องใดซึ่งเป็นเรื่องนอกตัว โดยปราศจาก การพิสูจน์อย่างหนึ่งและการเชื่อมั่นใจในความจริงและในการกระท� ำของตนเองซึ่งทั้ง ๒ ลักษณะจ� ำแนก ออกได้ ๓ ประเภท คือ ๑. ศรัทธาหรือเชื่อโดยไม่ต้องใช้ปัญญาแสวงหาความจริง ๒. ศรัทธาหรือเชื่อโดย ใช้ปัญญาแสวงหาความจริงไปพร้อม ๆ กัน และ ๓. ศรัทธาหรือเชื่อต่อเมื่อมีประสบการณ์ด้วยตนเอง จริง ๆ แล้ว ส่วนศรัทธา (belief) ที่แปลว่า ความเชื่อ นั้น มีลักษณะเป็นที่ยึดเหนี่ยวภายในจิตใจของบุคคล ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แสดงออกมาภายนอก เป็นความภักดี เคารพบูชากราบไหว้ เซ่นสรวงสังเวย และมอบตน ซึ่งแสดงออกเป็นความไว้วางใจต่อสิ่งภายนอกตนที่เชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น เรื่องไสยศาสตร์และเทวดา ต่าง ๆ จนพัฒนาขึ้นเป็นข้อเชื่อ (dogma) กลายเป็นระบอบศาสนาเทวนิยม ศรัทธาเป็นพลังแรงกล้า แสดงออกเป็นการยอมเสียสละอย่างส� ำคัญแม้กระทั่งชีวิตของตน และชีวิตจิตใจที่เปี่ยมด้วยศรัทธา หรือความเชื่อ จึงมีพลังที่ท� ำให้จิตใจมีความมั่นคง อบอุ่น และเป็นจิตใจที่เต็มไปด้วยความหวังในชาตินี้และ ต่อชาติหน้า ท� ำให้เกิดความพากเพียร บากบั่น อดทน และเป็นชีวิตที่มีพลังแห่งความเสียสละและกล้าหาญ ส่วน ปัญญา (wisdom) มีธรรมชาติแห่งการรู้ทั่ว สามารถหยั่งแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ มี ๒ อย่าง คือ ความรู้ที่ขจัดความสงสัยหรือรู้เพื่อรู้ และความรู้เพื่อชีวิต ความรู้ อย่างแรก พัฒนาการจากปรัชญาและก้าวหน้าไปสู่ความเป็น “ศาสตร์” (science) เกิดบนฐานแห่งพุทธิ- ปัญญา (Intellectuality) เรียกอีกอย่างว่า ความรู้วิชาการทางโลก ใช้เป็นเครื่องมือศึกษาเรื่องโลกและชีวิต เป็นการศึกษาโลกภายนอกให้เข้าใจด้วยเหตุผลอย่างมีระเบียบและวิธีวิทยา และความรู้อย่างหลังพัฒนา ไปเป็นศาสนา เกิดจากฐานการปฏิบัติ (practice) เรียกอีกอย่างว่า ความรู้ทางธรรม เป็นการศึกษาด้าน ๑ พุทธธรรม, หน้า ๖๕๖.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=