สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

บทบาทของศรั ทธาและปัญญาในการบรรลุสั จธรรม 18 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 บทน� ำ โดยทั่วไปศรัทธาและปัญญานอกจากเป็นบ่อเกิดของศาสนาและศาสตร์ทั้งปวงแล้ว ยังเป็นพลัง ขับเคลื่อนมนุษย์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในคือจิตใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศรัทธาและปัญญามี ธรรมชาติแตกต่างกัน ศรัทธามีอารมณ์ความรู้สึกเป็นบ่อเกิด ส่วนปัญญามีเหตุผลเป็นองค์ประกอบ ศรัทธา ที่ประกอบด้วยปัญญาท� ำให้เข้าใจเหตุผล แจ่มแจ้งภายในจิตใจ ท� ำให้หายความสงสัยไร้กังวล แต่ศรัทธาที่ ไม่ประกอบด้วยปัญญาท� ำให้เป็นพลังมืดมัว ไม่คลายความสงสัยลงได้ เพราะไว้วางใจต่อสิ่งภายนอกตน บางครั้งเรียกว่า ศรัทธาบอด เพราะความไม่แจ่มแจ้งในตนเอง ศาสนาทั้งหลายย่อมมีบ่อเกิดจากความ ศรัทธาเป็นพื้นฐาน แม้บางศาสนาจะเกิดจากปัญญาหรือเหตุผลก็ตาม แต่จุดหมายของศาสนาทุกประเภท ล้วนแต่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ ความสุขนิรันดร โดยอาศัยศรัทธาบ้าง อาศัยปัญญาบ้าง ในชีวิตมนุษย์ ทั้งหลาย บางครั้งก็แยกไม่ออกระหว่างอารมณ์ความรู้สึกกับเหตุผล ในการตัดสินใจกระท� ำการแต่ละครั้ง จึงเป็นความยุ่งยากใจในการใช้อารมณ์หรือเหตุผล ยิ่งในการปฏิบัติการให้ความส� ำคัญกับความเชื่อหรือ เหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมายว่าอะไรควรมาก่อนอะไรควรมาทีหลังนั้น จึงเป็นการต่อสู้กันในภายในอย่าง ส� ำคัญ ส่วนบ่อเกิดของศาสตร์ทั้งหลายต่างจากศาสนา เพราะศาสตร์ทั้งหลายเกิดจากฉันทะและมีเหตุผล เป็นเครื่องพัฒนาการกลายเป็นปัญญาความรู้ทั่ว ความเข้าใจชัด คือ สภาพที่รู้และเข้าใจธรรมชาติทั้งหลาย ถูกต้องและตามความเป็นจริงของลักษณะสภาพธรรมชาตินั้น ๆ ปัญญาเป็นองค์คุณธรรมภายในที่เป็นพลัง ขับเคลื่อนบุคคลให้ด� ำเนินชีวิตไปสู่ความแจ่มแจ้งเห็นจริงอย่างชัดเจน แต่ถ้าปัญญาที่ขาดศรัทธาก็จะกลาย เป็นความคิดหรือทฤษฎีที่ว่างเปล่า ศาสนาทั้งหลาย เริ่มต้นขึ้นจากความเชื่อแบบวิญญาณนิยม (animism) ที่ถือว่าในธรรมชาติ มีวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น พัฒนาเป็นพลังส� ำคัญยิ่งใหญ่ต่อการด� ำรงชีวิตของมนุษย์มาตั้งแต่ สมัยโบราณ และได้กลายเป็นระบอบก� ำหนดชีวิตในแง่มุมต่าง ๆ อย่างส� ำคัญ เริ่มตั้งแต่การเกิด การแต่งงาน การเข้าสังคม การเกษตรกรรม การท� ำสงคราม จนถึงการตาย และการเกิดใหม่ เป็นต้น ศรัทธาได้กลาย เป็นวิถีชีวิตและค่านิยมของคนในสังคม เพราะความเชื่อก� ำหนดโลกทัศน์และชีวิตทัศน์ และความเข้าใจ ของมนุษย์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมาทุกยุคทุกสมัย ศาสนาประเภทเทวนิยมให้ความส� ำคัญกับศรัทธามากกว่าศาสนาประเภทอเทวนิยม กล่าวคือ ได้อธิบายว่าศรัทธาเป็นองค์และเป็นศูนย์กลางของศาสนาด้วยการวิวรณ์ (revelation) ศรัทธานี้เรียกว่า ข้อเชื่อหรือ สิทธานต์ (dogma) ซึ่งเป็นความเชื่อที่ต้องเชื่อโดยไม่ต้องพิสูจน์ เพราะเป็นความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ปฏิบัติกับพระเป็นเจ้า หรือความจริงสูงสุด ฉะนั้น การวิวรณ์จึงเป็นการไขแสดงตนแสดงความ สัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเป็นเจ้าบนพื้นฐานของศรัทธาที่มาก่อนปัญญา กล่าวคือ ศาสนาเทวนิยม อธิบายว่า ความเชื่อต้องมาก่อนเหตุผล เหตุผลใดหรือปัญญาใดที่ขัดแย้งกับข้อเชื่อ เหตุผลนั้นหรือปัญญา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=