สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ บทบาทของศรัทธาและปัญญาในการบรรลุสัจธรรม * เดือน ค� ำดี ** ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน * ปรับปรุงจากการบรรยายในการประชุมส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ** ศาสตราจารย์ ดร. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บทคัดย่อ ศรัทธาและปัญญา คือ พลังสัญชาตญาณ เป็นเจตสิกที่เกิดขึ้นกับจิตใจ อยู่คู่กับจิต ผลัก ดันจิตให้แสดงอาการ คือ อารมณ์ซาบซ่านยินดี ปักใจมั่นใจ เข้าใจและประจักษ์แจ้งภายใน มี ๒ ความหมาย อย่างแรก หมายถึง ความเชื่อที่มีลักษณะเป็นความไว้วางใจในสิ่งภายนอก (belief) เป็นฐานที่เกิดของไสยศาสตร์ ในศาสนาฝ่ายเทวนิยม ความเชื่อประเภทสิทธานต์ (dogma) หรือ เทวโองการนี้น� ำไปสู่การบรรลุสัจธรรมสูงสุด คือ ความเป็นเอกภาพกับพระเป็นเจ้า (God) และ อย่างหลังคือ ความเชื่อที่มีลักษณะเป็นความมั่นใจในการกระท� ำของตนเอง (confident) พัฒนาสู่ ขั้นความแน่วแน่ภายในจิต เป็นฐานแห่งการวิปัสสนาในศาสนาอเทวนิยม ศรัทธาและปัญญาแม้จะมีนัยตรงกันข้าม แต่ปัญญาเป็นการรู้ทั่วถึงความจริง หรือรู้ตรง ตามความเป็นจริง (realization) ตรงกันข้ามกับโมหะ ความไม่รู้ทั่ว และแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ ความรู้เชิงวิชาการ (scientific knowledge) เป็นความรู้ทางโลก และความรู้ทางศาสนา (religious knowledge) เป็นความรู้ทางธรรม มี ๒ ระดับ คือ ระดับโลกียปัญญา และระดับโลกุตตระปัญญา ในทางพระพุทธศาสนา ศรัทธาและปัญญามีความสัมพันธ์กันในฐานะที่ศรัทธาเป็นพื้นฐานอ� ำนวยให้ จิตพิจารณาสภาวธรรม แล้วเข้าใจสภาวธรรมนั้นถูกต้องตามความเป็นจริง จึงแสดงหมวดธรรมต่าง ๆ ตั้งแต่น้อยไปหามาก ละเอียดเป็นขั้น ๆ ด้วยการแสดงบทบาทและความส� ำคัญของศรัทธาและปัญญา ค� ำส� ำคัญ : ศรัทธา, ปัญญา, สัจธรรม, ศาสนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=