สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

15 จตุรนต์ ถิ ระวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านแรงงาน การเสริมสร้างประสิทธิภาพส� ำหรับระบบการจัดท� ำรายงานและ ฐานข้อมูลด้านแรงงานให้แน่นอนและทันสมัย รวมถึงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกในการปกป้อง คุ้มครองสิทธิแรงงาน เช่น ช่องทางในการร้องเรียน การสนับสนุนองค์กรประชาสังคมด้านสิทธิแรงงาน ข้ามชาติ บทสรุป การเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพหรือผู้ประกอบอาชีพตามข้อตกลง ยอมรับคุณสมบัติร่วมกันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นปัจจัยส� ำคัญประการหนึ่งในแผนการเข้าสู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งเป็นด้านหนึ่งของแผนการเป็นประชาคมอาเซียน โดยการด� ำเนิน การในเรื่องนี้เป็นความพยายามครั้งส� ำคัญเพื่อเร่งรัดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของสมาคมอาเซียน ซึ่งกระท� ำอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการเปิดเสรีทางการค้าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) และการท� ำความตกลงเพื่อเปิดเสรีการค้าภาคบริการของอาเซียน อย่างไร ก็ตาม หากพิจารณาในภาพรวมแล้ว ในทางปฏิบัติ การด� ำเนินการในเรื่องนี้ของอาเซียนยังมีข้อจ� ำกัดอยู่ พอสมควร ทั้งในแง่ของขอบเขตของผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมเพียงผู้ให้บริการวิชาชีพบางสาขา และ ในแง่ของการด� ำเนินการ ที่ยังต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในตารางข้อผูกพันและการอ� ำนวยความสะดวกให้ได้รับ การรับรองสิทธิโดยองค์กรภายในของรัฐ ดังนั้น ปัจจัยที่จะน� ำไปสู่ความส� ำเร็จคือเจตนารมณ์ทางการเมือง ของรัฐสมาชิกเอง รวมทั้งความมุ่งมั่นที่จะสร้างความพร้อมของแต่ละรัฐสมาชิก ซึ่งมีความแตกต่างกันอยู่ พอสมควรในเรื่องระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประเทศไทย ในฐานะรัฐสมาชิกหนึ่งในสมาคม อาเซียน ก็มีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อผูกพันต่าง ๆ ในเรื่องการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพ โดยจ� ำต้องปรับปรุงกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ได้จัดท� ำไว้ไปพร้อม กับการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อรองรับการเข้ามาให้บริการ การประกอบอาชีพ ในประเทศโดย ผู้ให้บริการที่ได้รับสิทธิในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงการเดินทางไปให้บริการหรือประกอบอาชีพ ในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย ซึ่งเงื่อนไขส� ำคัญที่สุดประการหนึ่งอันจะท� ำให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ สูงสุดก็คือ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษา คุณภาพและมาตรฐานของสถาบันก� ำกับดูแลผู้ประกอบ วิชาชีพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความสามารถในการใช้ภาษาทางการของอาเซียน ซึ่งได้แก่ภาษาอังกฤษ ตลอดจนภาษาท้องถิ่นของรัฐสมาชิกเองด้วย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=