สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ข้อพิ จารณาทางกฎหมายส� ำหรั บการเคลื่ อนย้ายอย่างเสรี ของบุคคลผู้ให้บริ การวิ ชาชี พในประชาคมเศรษฐกิ จอาเซี ยนมายั งประเทศไทย 14 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 ที่จะอนุญาตในอนาคต เพราะฉะนั้นจึงควรต้องปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวดังนี้ ประการแรก โดย ก� ำหนดให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อส่งเสริมการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และให้แบ่งแยก ประเภทของงานในสาขาบริการซึ่งไทยมีข้อผูกพันหรืออาจเข้าผูกพันในอนาคตเพื่อเปิดเสรีการค้าบริการ กับประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งกับประเทศอื่น ๆ ให้แตกต่างจากกรณีของคนต่างด้าวทั่วไปหรือ ประการที่ ๒ โดยปรับปรุงกฎหมายให้มีการแบ่งประเภทของคนต่างด้าวให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างคนต่างด้าวทั่วไปและคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิตามความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้มี หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ขัดแย้งกับพันธกรณีซึ่งไทยผูกพันไว้ในความตกลงระหว่างประเทศ อันจะท� ำให้ การเจรจาก� ำหนดข้อผูกพันในเรื่องนี้มีความยืดหยุ่นยิ่งขึ้นในทางปฏิบัติ โดยจะเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการ ในอนาคตได้อย่างคล่องตัวขึ้น โดยไม่ต้องค� ำนึงถึงข้อจ� ำกัดตามกฎหมายภายใน ๒.๒.๒.๓ กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมและก� ำกับดูแลการประกอบวิชาชีพ หลักการส� ำคัญของกฎหมายในเรื่องนี้คือ เรื่องการได้รับใบอนุญาต ซึ่งเงื่อนไขหลักได้แก่ การเป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพหรือสภาวิชาชีพ และคุณสมบัติเกี่ยวกับการเป็น ผู้ถือสัญชาติไทย อันเป็นอุปสรรคที่ส� ำคัญต่อระบบการรับรองคุณสมบัติของสมาชิกองค์กรวิชาชีพ ในแต่ละสาขา ซึ่งสร้างปัญหายุ่งยากต่อการเข้าสู่ตลาดการค้าบริการของคนต่างด้าวผู้ให้บริการวิชาชีพ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีในเรื่องนี้ ไทยจ� ำต้องปรับปรุงข้อจ� ำกัดเรื่องการถือสัญชาติดังกล่าว มาข้างต้นให้ได้รับสิทธิไม่น้อยกว่าบุคคลสัญชาติไทยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้านแรงงาน ที่ไทยยอมรับ ๒.๒.๒.๔ กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงาน แม้ว่ากฎหมายจะมิได้แบ่งแยกการใช้กฎหมายระหว่างผู้ถือ สัญชาติไทยกับผู้อื่น แต่ในทางปฏิบัติแล้วยังมีปัญหาเกิดขึ้นในเรื่องนี้ กล่าวคือ เงื่อนไขของการมีส่วนร่วม ในสหภาพแรงงานก� ำหนดให้สิทธิเฉพาะผู้ถือสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งท� ำให้เกิดข้อจ� ำกัดในการด� ำเนินการ เพื่อแสวงหาความคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง และส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่าง บุคคลซึ่งอยู่ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน รวมถึงการท� ำข้อตกลงในสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ในการท� ำงานร่วมกัน ตลอดจนการระงับข้อขัดแย้งและข้อพิพาทแรงงานที่อาจเกิดขึ้น ได้ในอนาคต และการด� ำเนินการตามเงื่อนไขของการได้รับการประกันสังคม เพราะฉะนั้นจึงควรปรับปรุง กฎหมายในประเด็นนี้เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในลักษณะเดียวกันกับเรื่องที่แล้ว การปรับปรุงกฎหมายเหล่านี้อาจด� ำเนินการได้ในลักษณะค่อยเป็น ค่อยไป โดยนอกจากการพัฒนาทางกฎหมายที่กล่าวมาแล้ว ก็ต้องอาศัยมาตรการด้านการบริหารควบคู่ ไปด้วย โดยอาจด� ำเนินการได้ในทันทีและยืดหยุ่นกว่า เช่น การบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=