สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

215 นายยอดเยี่ ยม เทพธรานนท์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ นิวเคลียร์ในวันพรุ่งนี้ก็ตาม) การออกแบบและก่อสร้างใด ๆ จึงต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยของการเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีอย่างแน่นอน ๒. การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร หมายถึงอัตราการเจริญเติบโตของเมืองไทยน่าจะมี อัตราที่ถดถอย (อัตราการเพิ่มของประชากรน้อยลง) เด็กจะมีความส� ำคัญต่อสังคมมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็จะมีจ� ำนวนคนชรามากขึ้น (เพราะวิทยาการทางการแพทย์ดีขึ้น จึงท� ำให้ประชากรมีอายุยืนยาว) อีกทั้ง จ� ำนวนคนพิการก็จะมากขึ้น (เพราะมีการรักษาชีวิตที่ดีขึ้น และผู้ชราก็ถือว่าเป็นผู้พิการอย่างหนึ่งด้วย) สังคมไทยจะเอาใจใส่ต่อผู้พิการมากขึ้น ดังนั้น การออกแบบอาคารในทศวรรษหน้าจะต้องค� ำนึงถึงบุคคล เหล่านี้เสมอ ๓. การเปลี่ยนแปลงและความคงอยู่ทางด้านวัฒนธรรม เพราะโลกที่เปิดกว้างขึ้น วิทยาการ การสื่อสาร การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ท� ำให้โลกดูเล็กลง การแลกเปลี่ยน การครอบง� ำ การลอกเลียนทาง วัฒนธรรมจึงรุนแรงและล�้ ำลึกมากขึ้น ตามทฤษฎีของเซอร์ไอแซก นิวตันที่กล่าวว่า Action = Reaction น่าจะท� ำให้สังคมไทยเริ่มมีการหวงแหนวัฒนธรรมบางอย่างของชนชาติ ท� ำให้คนไทยเริ่มเห็นคุณค่าของ ศิลปวัฒนธรรมของชาติมากขึ้น รูปแบบทางสถาปัตยกรรมก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนปฏิกิริยา (Reaction) นี้ ซึ่งจะมีผลต่อการออกแบบที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้าเช่นเดียวกัน ๔. การกลับสู่ธรรมชาติ ใกล้ชิดธรรมชาติ และเข้าใจธรรมชาติ กระแสสภาวะโลกร้อน เป็นปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้เห็นอย่างชัดเจนต่อการออกแบบที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้า งานก่อสร้าง ที่เกิดขึ้นจะหลีกเลี่ยงผลที่ท� ำให้เกิดสภาวะโลกร้อน การดึงธรรมชาติเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นเป็นเรื่องส� ำคัญ ใช้วัสดุก่อสร้างที่ท� ำลายธรรมชาติน้อยลง ขณะเดียวกันการท� ำวัสดุที่ดูเหมือนผลิตผลของธรรมชาติ จะมีมากขึ้น ตลอดจนการใช้วัสดุแปรใช้ใหม่ (recycle) ก็จะเพิ่มขึ้น และจะเป็นจุดขายที่ส� ำคัญจุดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นแฟชั่นอย่างหนึ่งที่ผู้บริโภคบางคนอาจใช้เพื่อต้องการประกาศตนว่าเป็นคนดีที่รักษาโลก นี้ไว้เช่นกัน ๕. การค� ำนึงถึงสุขภาพของผู้อยู่อาศัยจะมีมากขึ้น เพราะมนุษย์มีความ “กลัวการเจ็บป่วย” เนื่องจากการรับรู้ข่าวสารความทรมานของการเจ็บป่วยชัดเจนขึ้น และรับรู้ข่าวสารของเหตุแห่งการป่วย ไข้มากขึ้นเป็นปฏิภาคกัน นอกจากการกลัวความเจ็บป่วยแล้ว การกลัว “ความตาย” ของผู้คนในสังคมที่ พอมีฐานะและมีความหวังในชีวิตก็จะมีมากขึ้นไปด้วย ดังนั้น การออกแบบที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้าจึง ต้องค� ำนึงถึงผู้อยู่อาศัยว่าจะต้องมีความปลอดภัยจากโรค จากอันตรายต่อชีวิต และอาจหนุนเนื่องไปถึง การออกแบบให้ผู้อาศัยมีความแข็งแรงขึ้นมากกว่าปรกติธรรมดาด้วย ๖. การค� ำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินจะมีมากขึ้น เพราะดูเหมือนว่าสังคมไทย ในปัจจุบันไปจนถึงทศวรรษหน้าจะเสพและยึดติดกับ “วัตถุนิยม และ ตัวเลข” มากขึ้นทุกวัน สังคมวัตถุนิยม

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=