สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 รูปแบบที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้า ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เกริ่นน� ำ เป็นเรื่องไม่ง่ายที่ใครจะมาบอกว่า “รูปแบบ” ของที่อยู่อาศัยในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร เพราะหากผู้ที่พยายามจะท� ำนายคิดว่า “รูปแบบ=รูปทรง” ที่ว่าบ้านที่ก่อสร้างในทศวรรษหน้านั้น จะเป็นทรงเหลี่ยมหรือทรงโค้ง จะเป็นหลังคาจั่วหรือหลังคาแบน หรือว่าบ้านจะเป็นสีขาว สีเหลือง หรือว่าสีแดง เพราะว่าสิ่งที่ก� ำลังจะท� ำนายกันเป็นเพียง “รสนิยม หรือ แฟชั่น” ซึ่งแฟชั่นและรสนิยม ยากที่จะท� ำนายกันได้ก่อนเป็น ๑๐ ปี หากแต่เมื่อพิจารณา “ปัจจัยรอบด้าน” ที่มีผลต่ออาคารที่พักอาศัยในทศวรรษหน้า ก็คือการ คาดหมายถึง “ความเปลี่ยนแปลง ความคงอยู่ และการย้อนยุค” ของสรรพสิ่ง สังคม และวิทยาการต่าง ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงไป และน� ำเข้าเชื่อมประสานกับความเป็นอาคารที่พักอาศัย ก็อาจสามารถคาดหมาย “รูปแบบที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้า” ได้บ้าง บทความต่อไปนี้เป็นการพยายามพิจารณาปัจจัยรอบด้านที่น่าจะเกิดขึ้น และน� ำไปสู่การ คาดหมายลักษณะของที่อยู่อาศัยที่จะเป็นไปในทศวรรษหน้า ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้า เมื่อพิจารณาและคาดหมายสภาวะในทศวรรษหน้า (ที่จะเปลี่ยนแปลงไปจากวันนี้) ที่จะส่งผล ต่อรูปแบบที่อยู่อาศัยในทศวรรษหน้า น่าจะประกอบด้วยปัจจัย ๑๐ ประการ ดังต่อไปนี้ ๑. การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ทั้งเทคโนโลยีทางด้านการขนส่ง, การผลิตวัสดุก่อสร้าง, วิธีกรรมการก่อสร้าง, งานระบบวิศวกรรม, การสื่อสาร, พลังงาน, ฯลฯ ที่มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพ มากขึ้น มีความรวดเร็วขึ้น มีขนาดเล็กลง พลังงานจะเป็นสิ่งที่ต้องใช้กันอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ มากขึ้น (อีก ๑๐ ปีข้างหน้า พลังงานนิวเคลียร์ยังไม่มีใช้อย่างแน่นอน แม้ว่าจะเริ่มโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=