สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

งานศิ ลป์แห่งเมี ยนมา 212 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 คดโค้งนั้นเป็นความยาก เพราะกระจกเป็นของแข็งเปราะ และแตกง่าย จึงนิยมตัดเป็นรูปเหลี่ยมต่าง ๆ ดังว่าแต่แรกน� ำมาประดับต่อกัน กระนั้นก็ดีการตัดกระจกท� ำเป็นเส้น เป็นรูปร่างหรือเป็นลายโค้ง แหลม กลมมน ก็ใช่ว่าท� ำไม่ได้ งานประดับกระจกในประเทศพม่ามีอยู่ให้เห็นได้ ช่างพม่าตัดกระจกเป็นรูปร่าง ต่าง ๆ แปลกไปกว่ารูปร่างทางเรขาคณิต และการตัดกระจกท� ำเป็นรูปร่างต่าง ๆ ก็ไม่เป็นวิธีซับซ้อนถึง ต้องปิดบังกัน ซึ่งในเมืองไทยยังไม่มีการตัดกระจกได้อย่างช่างพม่า งานหัตถศิลปประเภทงานประดับกระจกในเมืองไทยก็มีอยู่พอให้เห็นได้ในปัจจุบัน แต่ความนิยม จะท� ำให้มีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้นั้น ออกจะเป็นสิ่งห่างไกลจากความเห็นประโยชน์ และความต้องการของคน ทั่วไปในสังคม และส่วนราชการที่มีภาระ และหน้าที่ท� ำนุบ� ำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ การน� ำเสนอเรื่องงานประดับกระจกของพม่านี้ก็เพื่อประสงค์เป็นอุทาหรณ์ให้ทราบได้ว่า ประเทศ ข้างเคียงที่ไทยเราละเลยความสนใจมานานกว่า ๒๐๐ ปีนั้น เขามีอะไร ยังคงมีอยู่ ยังรักษาไว้ และพัฒนา ต่ออย่างถูกทางได้อย่างไร ถ้าเราเองไม่ถอนความคับแค้นแต่อดีตอันเป็นอุปาทานในประวัติศาสตร์เทียม ๆ ออกเสียบ้างแล้ว คนไทยจะเสียโอกาสรู้ถึง รู้เท่า และรู้ทันประเทศข้างเคียงเพื่อเติมต้นทุนทางศิลปะ และวัฒนธรรมให้งอกงามเติบใหญ่ต่อไป งานท� ำทองค� ำเปลว ที่เมืองมัณฑะเลย์พม่า พลเมืองตั้งมั่นในความศรัทธาพระพุทธศาสนา ยกย่อง และนับถือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะอย่างเข้มแข็ง ดังเห็นได้จากเจติยสถาน และศาสนสถานจ� ำนวนมากในประเทศนั้น มีสุดที่จะคณานับ พุทธศาสนิกชนชาวพม่าในแต่ละเมือง ๆ มิได้ละเลยหรือปล่อยวางธุระในการท� ำนุบ� ำรุงเจติยสถาน และศาสนสถานให้เก่าคร�่ ำคร่า หรือปรักหักพัง จนกลายเป็นที่ร้างสักแห่ง พุทธศาสนิกต่างร่วมก� ำลังร่วมทุนทรัพย์บูรณะบ� ำรุงรักษาให้คงสภาพใหม่ และ สะอาดอยู่มิได้ขาด ชาวพม่านิยมใช้ทองค� ำแท้ตีแผ่เป็นแผ่นบาง ๆ บุหุ้มเจติยสถานส� ำคัญ ๆ ดังมหาสถูปชเวดากอง มหาสถูปชเวมอว์ดอว์ ทองค� ำตีแผ่เป็นแผ่นบางมาก ๆ อย่างที่เรียกว่า “ทองค� ำเปลว” พม่าเรียกว่า “ชเวเบีย” ใช้ปิดพระพุทธรูป สถูปบริวาร เครื่องบูชา ลวดลายประดับอาคาร ฯลฯ โดยเฉพาะทองค� ำเปลว เป็นสิ่งที่ต้องการมากส� ำหรับการบูรณะ และปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุและปูชนียสถานอันเป็นสิ่งที่นับถือ และควรบูชา การตีทองค� ำเปลวจึงเป็นงานหัตถกรรมประเภทหนึ่ง เพื่อสนองความต้องการของบรรดาพุทธ ศาสนิกพึงได้ใช้ประโยชน์ในการท� ำนุบ� ำรุงศาสนาวัตถุ และศาสนสถานในพระพุทธศาสนา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=