สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
13 จตุรนต์ ถิ ระวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ ดังกล่าว แม้จะมีความซับซ้อนและใช้เวลาค่อนข้างมากก็ตาม แต่การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่มีอยู่เดิม ให้รองรับพันธกรณีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็ยังต้องด� ำเนินการด้วย ดังจะได้อธิบายต่อไป ๒.๒.๒ ผลกระทบต่อบทบัญญัติของกฎหมายไทย การด� ำเนินการตามแผนและข้อตกลงที่เกี่ยวข้องจะมีผลกระทบต่อกฎหมาย ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไทยจ� ำต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับพันธกรณีในความตกลงและข้อตกลง ต่าง ๆ ทั้งที่มีอยู่และก� ำลังจะเกิดขึ้นต่อไป ๑๘ โดยนอกเหนือจากบทบัญญัติเกี่ยวกับสัดส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งประเทศไทยยังมิได้ด� ำเนินการให้สอดคล้องกับความตกลงแล้ว ก็ยังมีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับการเคลื่อนย้ายบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพและผู้ประกอบอาชีพจากประเทศสมาชิกอาเซียนมายัง ประเทศไทย ดังนี้ ๒.๒.๒.๑ กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายไทยในเรื่องนี้ก� ำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการ พิจารณาและอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าเมืองและอยู่อาศัยในราชอาณาจักรไทย โดยค� ำนึงถึงสถานะของการ เป็นคนต่างด้าว วัตถุประสงค์ของการเข้าเมือง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายฉบับนี้ค่อนข้างเข้มงวด โดยเฉพาะในเรื่องการตรวจลงตรา อันจะท� ำให้เกิดอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายของบุคคลผู้ให้บริการวิชาชีพ และผู้ประกอบอาชีพ ตามแผนของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและตามความตกลงที่กล่าวมา ข้างต้นได้ ดังนั้น จึงควรออกบทบัญญัติที่แยกแยะระหว่างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขส� ำหรับคนต่างด้าวทั่วไป ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน และกฎเกณฑ์พิเศษส� ำหรับควบคุมการเข้าเมืองและการอยู่อาศัยที่ใช้ส� ำหรับบุคคล ที่ใช้สิทธิตามความตกลงระหว่างสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะเรื่องบุคคลธรรมดาผู้ให้บริการวิชาชีพและ ผู้ที่จะใช้สิทธิเคลื่อนย้ายมาประกอบอาชีพตามข้อตกลง เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความคล่องตัวในทาง ปฏิบัติ ควรพิจารณาถึงการก� ำหนดหลักเกณฑ์ในลักษณะยืดหยุ่น ซึ่งเป็นทางปฏิบัติที่ใช้อยู่แล้วในกฎหมาย บางฉบับ เช่น พ.ร.บ. ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. ๒๕๒๐ และ พ.ร.บ. การนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งจ� ำแนกคนต่างด้าวที่เข้ามาด� ำเนินการในกิจการที่ควบคุม ตามกฎหมายเหล่านี้ออกจากคนต่างด้าวในกรณีทั่วไป ๒.๒.๒.๒ กฎหมายว่าด้วยการท� ำงานของคนต่างด้าว กฎหมายไทยอนุญาตให้คนต่างด้าวท� ำงานได้เฉพาะเมื่องานประเภท นั้นถูกก� ำหนดไว้อย่างชัดแจ้งในกฎกระทรวงเท่านั้น ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับสาขาบริการที่ประเทศไทย ได้เสนอข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการในสาขาวิชาชีพนั้น ๆ รวมถึงประเภทของงานที่มีแนวโน้ม ๑๘ สถาพร ใสเรียน, อ้างแล้ว, บทที่ ๓ และ ๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=