สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๘ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๖ จุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * ค� ำ “เมียนมา” ใช้ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาพม่า งานศิลป์แห่งเมียนมา * งานประดับกระจก เป็นงานหัตถศิลป์ประเภทหนึ่ง ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นส� ำหรับการตกแต่ง เนื่องกับการมัณฑนศิลป์ต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องมาแต่คุณลักษณะของกระจกประกอบไปด้วยผิวเรียบเกลี้ยง เป็นมันวาว เมื่อรับแสงสว่างก็สะท้อนออกเป็นประกายแวววับ โดยเฉพาะกระจกสีต่าง ๆ เมื่อประดับ เข้ากับงานมัณฑนศิลป์บางงานก็ดูคล้ายประดับด้วยอัญมณี ซึ่งเป็นการเสริมคุณภาพงานมัณฑนศิลป์นั้น มีคุณค่ายิ่งขึ้น ในประเทศพม่าหรือปัจจุบันคือสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา* งานประดับกระจกได้รับความ นิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งที่เป็นงานประดับกระจกซึ่งเป็นหลักฐานมีมาแต่อดีต กับงานประดับกระจกที่ได้ รับการสร้างท� ำขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน งานประดับกระจกในประเทศพม่าหรือเมียนมา ปรากฏให้เห็นได้ตามศาสนสถานแต่ละแห่ง ในเมืองต่าง ๆ อดีตพระราชวังที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน กับงานหัตถศิลป์ซึ่งผลิตขึ้นเป็น เครื่องใช้ไม้สอย และเป็นสินค้าจ� ำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งมีวางขายตามศาสนสถานทั่วไป งานประดับกระจกเป็นเรื่องที่มีสาระส� ำคัญควรแก่ความสนใจ และเรียนรู้ ในฐานะประเทศพม่า เป็นประเทศคู่เคียงกับประเทศไทย ในเมืองไทยก็มีงานหัตถศิลป์ประเภทงานประดับกระจกมาแต่อดีตกาล เช่นกันการที่จะให้ความสนใจ และเรียนรู้งานประดับกระจกของพม่าซึ่งไม่ควรถือเอาความเจ้าคับเจ้าแค้น แต่อดีตมาเป็นอุปสรรค ปัจจุบันการเรียนรู้และเข้าใจในศิลปะ และวัฒนธรรมของประเทศใกล้เคียงจัดให้ เป็นนโยบายส� ำคัญหนึ่งในการเข้าร่วมเป็นประชาคมแห่งอาเซียนในอนาคตอันใกล้ ดังนี้ การรับรู้และเรียนรู้ งานประดับกระจกของพม่าจึงน่าจะเป็นประโยชน์แก่การ “บูรณาการ” งานประดับกระจกของไทยได้บ้าง ในประเทศพม่า มีโรงงานผลิตกระจกสีขาว และกระจกสีต่าง ๆ กระจกสีของพม่ามีทั้งขนาดหนา และขนาดบาง กระจกสีอย่างบางนี้ ชาวล้านนาแต่ก่อนเรียกว่า “แก้วพุกาม” น� ำเข้าจากพม่าเอามา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=