สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

การบรรเลงพิ ณไร้สาย 200 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 พื้นบ้านเก่าแก่ของ “แคว้นฉิน” (Chin) จึงสันนิษฐานว่าพิณ ๕ สายชนิดนี้น่าจะเป็นต้นก� ำเนิดของพิณกู่เจิง เพราะใช้ระบบ ๕ เสียงเหมือนกัน เพียงแต่พิณกู่เจิงนั้นเพิ่มจ� ำนวนสายให้มากขึ้นเป็น ๒๕ สาย พิณ ๔ สาย พิณที่ใช้จ� ำนวนสาย ๔ สาย มีปรากฏอยู่เป็นจ� ำนวนมากในหลาย ๆ ประเทศ เช่นเครื่องดนตรี โบราณของไทยที่เรียกว่า “กระจับปี่” หรือพิณรูปหยดน�้ ำของจีนที่เรียกว่า “ผีผา” (Pipa) เป็นต้น นอกจาก นั้นยังมีเครื่องดนตรีประเภท “ซึง” ซึ่งพบอยู่ในแถบภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยด้วย พิณชนิดนี้เป็นที่นิยมกันมาก เนื่องจากมีน�้ ำหนักเบา ใช้สาย น้อยเพียง ๔ เส้น แต่ท� ำเสียงได้มาก ทั้งยังสร้างได้ง่าย และ มีขนาดกะทัดรัด นักดนตรีสามารถถือไปมาได้สะดวก เวลา ดีดบรรเลงก็วางบนตักดีดได้ทันที ส� ำหรับพิณ ๔ สายของ ชาวตะวันตกในปัจจุบันซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมกันทั่วไปคือ ไวโอลิน เพียงแต่ไม่ได้ใช้นิ้วดีดหรือใช้ปิ๊กเขี่ยสายแต่ใช้คันชัก สีกับสายให้เกิดเสียงแทนการดีด สิ่งที่น่าสังเกตก็คือพิณ ๔ สายนั้นจะใช้ระบบเปลี่ยน เสียงด้วยการใช้นิ้วกดลงไปตามสายที่อยู่ตรงบริเวณคอพิณ ไม่ได้ดีดหรือสีเป็นสายอิสระเหมือนพิณที่มีจ� ำนวนสายหลาย เส้น ดังนั้นจึงท� ำเสียงดนตรีได้มากขึ้นโดยไม่จ� ำเป็นต้องเพิ่มจ� ำนวนสาย พิณ ๔ สายเช่นกระจับปี่นั้นน่าจะ เป็นต้นก� ำเนิดของเครื่องดนตรีในปัจจุบันที่เรียกว่ากีต้าร์ซึ่งมี ๖ สายด้วย เพราะมีมาก่อนกีต้าร์นานแล้ว พิณ ๓ สาย พิณชนิดนี้มีทั้งพิณที่อยู่ในตระกูล “เครื่องสี” และ “เครื่องดีด” เช่น ซอสามสาย จะเข้ การท� ำเสียงจะใช้นิ้วมือกดสายที่อยู่ตามคอพิณ เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงสูงต�่ ำเช่นเดียวกัน ส่วนการเกิดเสียงนั้นอาจมาจาก การใช้ไม้ดีดไปที่สายโดยตรงหรือใช้คันชักสีที่สายให้เกิดเสียงก็ได้ แล้ว แต่รูปแบบของการประดิษฐ์ จัดว่าเป็นพิณที่นิยมดีดบรเลงกันมากทั้ง ๒ ชนิดเนื่องจากมีรูปลักษณะสวยงามติดตาและมีเสียงไพเราะน่าฟัง แสดง ถึงความงดงามของศิลปะไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นของตนเอง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=