สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
การบรรเลงพิ ณไร้สาย 198 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 38 No. 4 Oct-Dec 2013 พิณพม่านั้นมีรูปทรงขนาดเล็ก ตัวพิณมีลักษณะคล้ายล� ำเรือท� ำหน้าที่ขยายเสียงที่ดีดให้ดังขึ้น ส่วนคอพิณมีลักษณะโค้งงอนคล้ายคันธนู ขึงสายที่ท� ำด้วยเชือกป่านเอาไว้ ๑๖ เส้นด้วยกัน เวลาดีดบรรเลง เสียงพิณจะดังไม่มากนัก เดิมคงใช้บรรเลงกันเฉพาะในรั้วในวังหรือในบ้านเรือนเท่านั้น ในนวนิยายเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศของยาขอบกล่าวถึงพิณชนิดนี้ไว้ตอนที่ “จะเด็ด” สอนกุสุมาให้ดีดพิณก็คือพิณชนิดนี้นั่นเอง พิณ ๑๓ สาย โกโตะ เป็นพิณโบราณของญี่ปุ่น มีเพียง ๑๓ สาย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากพิณกู่เจิง ของจีนคือมีต� ำนานเล่าว่ามีขุนนางจีนท่านหนึ่งมีพิณกู่เจิงขนาด ๒๕ สายซึ่งมีเสียงไพเราะน่าฟังมาก และมีบุตรสาว ๒ คนซึ่งต่างก็ดีดพิณตัวนี้ได้ไพเราะ ไม่แพ้กัน ครั้นเมื่อขุนนางท่านนี้สิ้นชีวิตไปอย่าง กระทันหันไม่ทันไม่ได้สั่งเสียไว้ว่าพิณกู่เจิงที่มีเสียง ไพเราะมากตัวนั้นจะยกให้เป็นสมบัติแก่ลูกสาวคนใด สองสาวพี่น้องจึงเกิดทะเลาะแย่งชิงพิณกู่เจิงกันอย่าง รุนแรง มารดาโกรธจึงใช้กระบี่ผ่าพิณตัวนั้นออกเป็น สองซีกเพื่อแบ่งให้กับบุตรสาวทั้งสอง สตรีผู้พี่ได้ส่วน ที่มี ๑๒ สายไว้ ส่วนน้องสาวได้ส่วนที่มี ๑๓ สายไป ต่อมาน้องสาวอพยพครอบครัวไปอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นและไม่กลับมาบ้านอีกเลย จึงเกิดพิณโกโตะขึ้นใน ญี่ปุ่นตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ต� ำนานเรื่องนี้ได้จากหนังสือเรื่องวิธีดีดพิณกู่เจิงของ จาเน็ต ลิม (Janet Lim) ซึ่งเป็นศิลปินกู่เจิงชาวสิงคโปร์ที่เคยเดินทางมาเมืองไทย และได้มาพบพูดคุยกับผู้เขียนในสมัยที่เริ่มน� ำพิณ ชนิดนี้มาดีดบรรเลงเป็นเพลงไทย พิณ ๗ สาย พิณชนิดนี้เป็นพิณโบราณของจีนเรียกว่า กู่ฉิน (Guqin) มีสายเพียง ๗ สาย และไม่มีหย่อง ส� ำหรับหนุนสาย ผู้บรรเลงต้องใช้นิ้วมือดีดแล้วกด สายพิณรีดไปมาเพื่อให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ ที่ไพเราะ น่าฟังนับว่าเป็นพิณที่บรรเลงได้ยากมากชนิดหนึ่ง พิณกู่ฉินนั้นมีมาก่อนพิณกู่เจิง แต่เนื่องจากวิธีดีด บรรเลงค่อนข้างยากจึงมีการพัฒนาพิณกู่เจิงขึ้น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=